การวิเคราะห์ความแก่-อ่อนของแตงโม
พิสุทธิ์ สีมาวุธ และภาณุวัตร ทองประเสริฐ
รายงานของนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2534. 22 หน้า.
2534
บทคัดย่อ
· งานโครงการนี้ได้ศึกษาถึงแนวทางในการวิเคราะห์ความแก่-อ่อนของแตงโม โดยแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง คือ
· 1. การวัดความถี่เสียงจากการเคาะแตงโมด้วยแรงสปริง โดยการเคาะ แตงโมนั้น จะทำการเคาะเพียงครั้งเดียว และคลื่นเสียงที่ได้ออกมานั้นจะเป็นคลื่น เสียงที่ผ่านอากาศ ซึ่งความถี่ของคลื่นเสียงที่วัดออกมาได้มีค่าไม่คงที่และไม่ แน่นอน เนื่องจากมีเสียงแทรกมาจากบริเวณรอบข้าง การวัดความถี่เสียงเช่นนี้จะ ต้องทำในบริเวณที่เงียบ ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้งานจริง
· 2. การวัดความถี่เสียงจากการเคาะแตงโมโดยความถี่จากการเคาะแตงโม มีค่าคงที่เพื่อที่จะกำจัดเสียงรบกวนจากบริเวณรอบข้าง แต่การทดลองนี้ไม่สามารถ แยกช่วงความถี่ออกมาได้ เพราะความถี่ในการเคาะแตงโมมีผลมากกว่าความถี่ของ เสียงจากการเคาะแตงโม
· 3. การวัดระดับความดังของเสียงโดยการเคาะแตงโม เคาะด้วยความถี่คง ที่ซึ่งระดับความดังของเสียงที่ได้ออกมานั้นระหว่างลูกอ่อนและลูกแก่ จะให้ระดับ ความดับแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้คือ
· แตงโมอ่อน มีระดับความดังอยู่ในช่วง 103-109 db
· แตงโมแก่ มีระดับความดังอยู่ในช่วง 110-113 db
· แตงโมแก่จัด มีระดับความดังอยู่ในช่วง 114-118 db
· จากช่วงระดับความดังที่ได้ ชี้ให้เห็นว่าแตงโมที่แก่ มีระดับความดังของ เสียงสูงกว่าแตงโมที่อ่อน
· โครงการนี้ใช้แตงโมในการวิเคราะห์เพียงขนาดเดียว คือ แตงโมที่มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 ซม. และเป็นพันธุ์เดียวกันคือ พันธุ์ซูการ์เบบี้