การดัดแปลงและปรับปรุงเครื่องกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แบบมือโยก
คำนึง วาทโยธา และ สมศักดิ์ ศรีชัยปัญหา
รายงานการวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2530. 24 หน้า.
2530
บทคัดย่อ
· โครงการนี้ได้ใช้เครื่องกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แบบมือโยกของกรม
ส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งใบมีดทำหน้าที่เพียงผ่าเปลือกเมล็ดแต่ไม่แยกเปลือกจาก
กันเป็นแนวทางในการดับแปลงเครื่องกะเทาะแบบมือโยกเพื่อให้ได้เครื่องกะเทาะ
ที่มีใบมีดที่สามารถผ่าและแงะเปลือกได้ทันทีหลังจากการผ่าโดยใช้แรงกดเพียงครั้ง
ดียว โดยอาศัยความชำนาญในการกะเทาะน้อยลง
จากการใช้เครื่องที่ดัดแปลงและปรับปรุงแล้วทดลองกะเทาะเมล็ดมะม่วง
หิมพานต์พันธุ์กาฬสินธุ์ ซึ่งคัดขนาดความกว้างของเมล็ดเฉลี่ย 19.5
มม. (16.40
21.64 มม) โดยใช้ระยะห่างระหว่างสันใบมีด 2.75 มม. พบว่ากลไกชุดใบ
มีดสามารถทำงานได้ดี ดังที่คาดไว้และให้ผลของการกะเทาะดังนี้
อัตราการกะเทาะประมาณ 240 เมล็ด/ชั่วโมง
เปอร์เซ็นต์การกะเทาะ 83.8 %
เปอร์เซ็นต์เมล็ดในประกบคู่ 50 %
เปอร์เซ็นต์เมล็ดในซีก 50 %
แม้ว่าการกะเทาะโดยใช้เครื่องที่ดัดแปลงและปรับปรุงแล้วจะไม่เสียเวลา
ในการแงะเปลือกและอาศัยความชำนาญในการกะเทาะน้อยลง แต่ข้อเสียในการ
ใช้เครื่องก็คือสมรรถนะโดยรวมของเครื่องไม่ดีไปกว่าเครื่องต้นแบบเดิมและผู้กะ-
เทาะต้องเสียเวลาในการคัดเมล็ดที่จะกะเทาะให้ได้ขนาดใกล้เคียงกันเสียก่อน