การศึกษาและพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไยแบบไต้หวัน
เฉลิมชัย คำบุญเหลือ และ อดุลย์ ลิ้มเจริญ
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2531. 127 หน้า.
2531
บทคัดย่อ
· โครงการนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไยที่เกษตรกร
เรียกว่าแบบไต้หวัน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการประ
ยุกต์ใช้ในการอบแห้งพืชผลให้ได้หลายชนิดตลอดจนหาประสิทธิภาพของเครื่อง
อบที่สร้างขึ้น โดยคำนึงถึงต้นทุนการสร้างเพื่อเกษตรกรจะสามารถนำไป ใช้ได้ เครื่องอบแห้งที่สร้างขึ้นนี้เป็นการนำเอาแบบเครื่องอบแห้งของไต้
หวันมาดัดแปลงโดยใช้ต้นทุนในการสร้างประมาณ 6,000 บาท
ใช้แก๊ส หุงต้ม (LPG) เป็นเชื้อเพลิง พืชทดสอบที่ใช้อบคือ
พริกสดแดง และถั่ว ลิสง จากการทดลองอบแห้งพริกสดแดง จำนวน 3
ครั้ง และถั่วลิสงจำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 50 kg พบว่าอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญในการอบแห้ง โดยใน การอบพริกครั้งที่ 1 และ 2 ใช้อุณหภูมิในการอบคงที่ตลอดคือประมาณ 60 องศาเซลเซียส และ 65 องศาเซลเซียส ตามลำดับจากความชื้นเริ่มต้น
ประมาณ 82% (Wet basis) จนเหลือความชื้นประมาณ 11-12%
จะใช้ เวลาในการอบ 33 ชั่วโมงและ 32 ชั่วโมงตามลำดับ ในครั้งที่ 3 จะ แบ่งช่วงการให้อุณหภูมิเป็น
2 ช่วง คือช่วงแรกประมาณ 4 ชั่วโมง จะ ใช้อุณหภูมิอบประมาณ
90 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นจึงลดลงมาเหลือ ประมาณ 60
องศาเซลเซียส จะใช้เวลาในการอบทั้งหมดรวม 28
ชม. สำหรับการอบถั่วลิสง 2 ครั้งนั้นจะใช้เวลาน้อยกว่าการอบพริกคือ
จาก ความชื้นเริ่มต้นประมาณ 48% (Wet basis) จนเหลือความชื้นประมาณ
10-12% จะใช้เวลาในการอบประมาณ 20
ชั่วโมง อุณหภูมิที่ใช้อบประ มาณ 60-70 องศาเซลเซียส
คุณภาพของผลผลิตที่ได้จากการอบแห้งจะ ได้พริกแห้งที่มีคุณภาพดีพอสมควร
ส่วนถั่วจะพบว่าเมล็ดถั่วข้างในจะยังไม่ แห้งสนิทดีนักแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
ทางด้านประสิทธิภาพเชิงความร้อน ของการอบพริกทั้ง 3 ครั้งคือ
18.3% 21.4% และ 20.6% ตามลำดับ ในการอบถั่วจะได้ประสิทธิภาพ
5.1% และ 14.7% สำหรับค่าใช้จ่าย
ในการอบแห้งพริกทั้ง 3 ครั้งต่อกิโลกรัมผลผลิตแห้งคือประมาณ 44 บาท 43 บาท และ 39 บาท ตามลำดับโดยระยะเวลาการคืนทุนประมาณ
2 ปี ส่วนการทดลองอบแห้งถั่วลิสงจะได้ว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเนื่องจาก
ราคาของผลผลิตเปียก และแห้งใกล้เคียงกันในขณะที่อัตราส่วนที่ได้จาก การอบแห้งน้อยคือประมาณ
1.7:1 ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง เกษตรกรควรจะ ใช้วิธีการตากแห้งจะได้ผลดีกว่า