บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาหาช่วงอุณหภูมิและปริมาณลมร้อนที่เหมาะสมของการอบแห้งต้นหอม

เข็น เชาว์ถาวร และอนนท์ ตรงกิจวิโรจน์

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรม เครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2534. 117 หน้า.

2534

บทคัดย่อ

การศึกษาหาช่วงอุณหภูมิและปริมาณลมร้อนที่เหมาะสมของการอบแห้งต้นหอม

·  จากการทดลองหาค่าความร้อนจำเพาะของต้นหอมพบว่า ค่าความ ร้อนจำเพาะของต้นหอมจะแปรผันตรงกับความชื้นซึ่งความสัมพันธ์มีลักษณะ เป็นเส้นตรง

·  โครงการวิจัยนี้ เป็นการศึกษาหาแนวทางการอบแห้งที่เหมาะสม ที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพื่อใช้ในการอบแห้งต้นหอม โดยพิจารณาจาก ค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะเวลาที่ใช้ในการอบแห้ง และคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งตัวแปรที่จะทำการศึกษาในโครงการวิจัยนี้ คืออัตราการ ไหลจำเพาะของอากาศและอุณหภูมิการอบแห้ง โดยเครื่องอบแห้งที่ใช้ เป็นเครื่องอบแห้งแบบตู้ (cabinet) ทำการทดลองอบแห้งต้นหอมที่ สภาวะต่าง ๆ

·  จากผลการทดลองพบว่า ที่อุณหภูมิอบแห้งคงที่ เมื่ออัตราการไหล จำเพาะของอากาศลดลง ความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะที่ใช้ในการ อบแห้งต้นหอมจะลดลงด้วย และที่อัตราไหลจำเพาะของอากาศคงที่ เมื่อ อุณหภูมิอบแห้งเพิ่มขึ้นจะทำให้ความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะลดลง คุณภาพของต้นหอมที่อบได้จะมีคุณภาพดีที่สุดเมื่อทำการอบด้วยอุณหภูมิอบแห้ง ประมาณ 60 องศาเซลเซียส สำหรับ

·  แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในโครงการวิจัยนี้ สามารถใช้ใน การทำนายผลของการอบแห้งต้นหอมที่สภาวะต่าง ๆ ได้ดีเมื่อเปรียบเทียบ กับผลการทดลองที่สภาวะเดียวกัน ดังนั้น จึงสามารถนำแบบจำลองดังกล่าว มาใช้หาสภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการอบแห้งต้นหอมได้

·  สำหรับการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อหาแนวทางการอบ แห้งที่เหมาะสมโดยการแปรค่าอัตราการไหลจำเพาะของอากาศและอุณหภูมิ อบแห้งพบว่า สภาวะที่เหมาะสมควรใช้ในการอบต้นหอมคือ ใช้อัตราไหล จำเพาะของอากาศประมาณ 400 และใช้อุณหภูมิอบแห้งประมาณ 60 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้เวลาที่ใช้ในการอบแห้ง และความสิ้นเปลือง พลังงานจำเพาะมีค่าค่อนข้างต่ำ คือประมาณ 16 Mj/kg water และใช้ เวลาในการอบแห้งประมาณ 25 ชั่วโมง