บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาหาพารามิเตอร์ที่จำเป็น สำหรับการวิเคราะห์การอบแห้งต้นหอม

ชวลิต ศรีอนุพงศ์ และ พงศ์พิชาญ์ โกสุมาศ

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรม เครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2533. 1 (หน้าไม่เรียงลำดับ).

2533

บทคัดย่อ

การศึกษาหาพารามิเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์การอบแห้งต้นหอม

·  โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาพารามิเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการ วิเคราะห์การอบแห้งต้นหอม ซึ่งพารามิเตอร์ที่ทำการศึกษาในโครงการนี้ คือ ความชื้นสมดุลของต้นหอม (Equilibrium moisture content), ความหนาแน่นปรากฏของต้นหอม (Bulk density),ความดันลดที่เกิดขึ้น ขณะทำการอบแห้ง (Pressure drop), และค่าคงที่ของการอบแห้งของ ต้นหอม (Drying constant) ซึ่งค่าพารามิเตอร์เหล่านี้สามารถนำไป ใช้ประโยชน์ในการหาแนวทางการอบแห้งต้นหอมที่เหมาะสมได้

·  ในการทดลองหาค่าปริมาณความชื้นสมดุลของต้นหอมในช่วงอุณหภูมิ ระหว่าง 45-75 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศระหว่าง 10-90% (ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศนี้จะถูกควบคุมโดยสารละลายเกลือ อิ่มตัว) เมื่อทำการวิเคราะห์ผลการทดลองโดยเปรียบเทียบกับรูปแบบ สมการทางคณิตศาสตร์ของความชื้นสมดุลในรูปแบบสมการต่าง ๆ ปรากฏว่า รูปแบบสมการทางคณิตศาสตร์ของความชื้นสมดุลของ Oswin สามารถคำนวณ ค่าความชื้นสมดุลได้ใกล้เคียงกับความชื้นสมดุลที่ได้จากการทดลองและจาก การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นสมดุลของต้นหอม กับความชื้นสัมพัทธ์ ของอากาศ ในรูปกราฟ พบว่า ในช่วงความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ 0-85% ความชื้นสมดุลของต้นหอมจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ เพิ่มขึ้น แต่ในช่วงความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมากกว่า 85% ความชื้นสมดุลของ ต้นหอมจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อเปรียบเทียบความชื้นสมดุลที่ระดับ ความชื้นสัมพัทธ์เดียวกัน พบว่า ความชื้นสมดุลของต้นหอมที่อุณหภูมิต่ำจะมีค่า มากกว่าที่อุณหภูมิสูง

·  จากการทดลองหาค่าความหนาแน่นปรากฏของต้นหอมในช่วงความชื้น ของต้นหอม 0-1200% มาตรฐานแห้ง แล้วทำการวิเคราะห์ผลการทดลอง เพื่อสร้างรูปแบบสมการทางคณิตศาสตร์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความ หนาแน่นปรากฏของต้นหอม กับ ความชื้นของต้อนหอม โดยใช้รูปแบบสมการ เส้นตรง จากการแสดงความสัมพันธ์ในรูปกราฟระหว่างความหนาแน่น ปรากฏ ของต้นหอมกับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ พบว่าในช่วงความชื้นของต้นหอม 0-600% มาตรฐานแห้ง ความหนาแน่นปรากฏของต้นหอมจะสูงขึ้น แต่ในช่วง ความชื้นของต้นหอมระหว่าง 600-1200% มาตรฐานแห้ง ความหนาแน่น ปรากฏของต้นหอมจะลดลง เมื่อความชื้นของต้นหอมสูงขึ้น

·  จากการทำการทดลอง และการวิเคราะห์ค่าความดันลดที่เกิดขึ้นขณะ ทำการอบแห้ง โดยทำการทดลองในช่วงความเร็วลมร้อนที่ผ่านชั้นของต้นหอม ระหว่าง 0.2-1.2 m/s และ เมื่อทำการแสดงความสัมพันธ์ในรูปกราฟ ระหว่างความดันลดที่เกิดขึ้นขณะทำการอบแห้งกับความเร็วลมร้อนที่ผ่านชั้น ของต้นหอม พบว่า มีความสัมพันธ์กันในลักษณะเชิงเส้น คือ เมื่อความเร็ว ลมร้อนที่ผ่านชั้นของต้นหอมเพิ่มมากขึ้น ค่าของความดันลดที่เกิดขึ้นขณะทำการ อบแห้งก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย

·  สำหรับการทดลองหาค่าคงที่ของการอบแห้ง ซึ่งทำการทดลองในช่วง อุณหภูมิ 45-75 องศาเซลเซียส เมื่อทำการวิเคราะห์หารูปแบบสมการ ความสัมพันธ์ระหว่างค่าคงที่ของการอบแห้งของต้นหอม กับอุณหภูมิจะได้ความ สัมพันธ์ในลักษณะเอกซ์โปเนนเชียล คือ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าคงที่ของการ อบแห้งของต้นหอมก็จะมีค่าเพิ่มมากขึ้น