เครื่องอบแห้งกล้วยน้ำว้าพลังงานแสงอาทิตย์
ธีระชัย ไชยศิริ บุญยงค์ วัฒนาโกศัย และวิโรจน์ โรจนวิสูตร
ปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532. 121 หน้า.
2532
บทคัดย่อ
· โครงการนี้เป็นโครงการ การอบแห้งกล้วยน้ำว้าด้วยเครื่องอบแห้ง พลังงานแสงอาทิตย์โดยทำการสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Natural circulation ในบริเวณภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศว กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดแผ่นแบนราบ (Flat Plate Collector) ทาสีดำ มีขนาด 1x1.7 เมตร และส่วนของตู้อบมีขนาด 0.6x1x0.4 เมตร ปล่องสูงจากพื้นดิน 2.8 เมตร หุ้มทั้งหมดด้วยพลาสติก ใส PVC อบได้ 1 ชั้น อบกล้วยได้ครั้งละ 5 กก. โดยเครื่องอบแห้งนี้มี ประสิทธิภาพเชิงความร้อนประมาณ 9.2%
· จากการทดลองอบกล้วยน้ำว้าด้วยเครื่องอบแห้งกล้วยน้ำว้าพลังงาน แสงอาทิตย์ ซึ่งกล้วยที่จะนำมาอบต้องสุกงอม เนื้อเป็นสีเหลือง เปลือกร่อน ออกง่าย พบว่าจากความชื้นเริ่มต้นประมาณ 230% มาตรฐานแห้ง สามารถ ลดความชื้นลงให้เหลือประมาณ 25% มาตรฐานแห้ง โดยใช้เวลา 3 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับกล้วยที่ตากโดยวิธีธรรมชาติจะพบว่ากล้วยภายในเครื่องอบ จะใช้เวลาในการลดความชื้นน้อยกว่า 1 วัน และสีของกล้วยจะเข้มกว่ากล้วย ที่ตากโดยวิธีธรรมชาติ
· จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการอบแห้งกล้วยน้ำว้าพลังงาน แสงอาทิตย์ พบว่าให้ผลที่ใกล้เคียงกับการทดลองจริง ซึ่งจะสามารถนำแบบ จำลองทางคณิตศาสตร์นี้ไปใช้เป็นแนวทางและทำนายอัตราการอบแห้งกล้วย น้ำว้าได้
· ผลวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้สมมติฐานที่สร้างขึ้น พบว่าเครื่อง อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์นี้ถ้าใช้งานในช่วงที่ไม่มีฝนตก จะสามารถทำการ อบกล้วยได้ 72 ครั้งใน 1 ปี จะมีผลกำไร 463 บาท/ปี เมื่อเปรียบเทียบ วิธีตากแห้งโดยธรรมชาติซึ่งมีผลกำไร 560 บาท/ปี แสดงว่าไม่คุ้มกับการลง ทุนสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ถึงแม้ว่าจะมีผลกำไรน้อยกว่าวิธี ตากแห้งทางธรรมชาติ แต่การอบโดยใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ก็มีข้อได้เปรียบตรงที่สามารถควบคุมความชื้นให้ลดลงตามที่ต้องการได้ และ ควบคุม ดูแลในเรื่องความสะอาดได้ง่ายกว่า