บทคัดย่องานวิจัย

การวิจัยและพัฒนาเครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

ธวัชชัย ทิวาวรรณวงศ์ และเสรี วงส์พิเชษฐ

ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น

2537

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาเครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

·  โครงการได้ดำเนินการศึกษาและทดสอบ คุณสมบัติเบื้องต้นของเมล็ดในและ เยื่อหุ้มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์พันธุ์ศรีสะเกศ 60-1 ซึ่ง ให้ผลโดยเฉลี่ยคือ ขนาดเมล็ด (กว้าง x ยาว x หนา) 17.9x25.9x12.7 มม. ความหนาของเยื่อ 0.61 มม. ความชื้นของเมล็ดใน 4.74% (น้ำหนักเปียก) อัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างเมล็ดในต่อเยื่อ 10.4:1 และความชื้นของเยื่อ 9-11%

·  ผลการศึกษาวิธีการลอกเยื่อเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ พบว่า วิธีการเตรียมเมล็ด ก่อนลอกเยื่อมีความสำคัญอย่างมากต่อผลการลอกเยื่อ วิธีการเตรียมเมล็ดที่ให้ผล ดีที่สุด คือ การแช่เมล็ดในสารละลายเกลือในอัตราส่วนผสมโดยน้ำหนักระหว่าง เกลือและน้ำ 1:1 เป็นเวลานาน 1 นาที และอบเมล็ดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซล เซียส เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง ตามด้วยการผึ่งเมล็ดเป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง แล้วจึงนำเมล็ดไปลอกเยื่อ โดยเมื่อใช้ความดันลม 130 ปอนด์/ตร.นิ้ว เป่าลอก เยื่อโดยใช้มือจับทีละเมล็ด ได้อัตราการลอกเยื่อเฉลี่ย 1.269 กก/ชม. และ เปอร์เซนต์เมล็ดประกบคู่เฉลี่ย 98.0

·  ผลของการทดสอบชุดเครื่องมือลอกเยื่อซึ่งใช้หัวฉีดที่มีรูขนาด 1.1 มม. จำนวน 4 รู ฉีดพ่นลมโดยใช้ความดัน 130 ปอนด์/ตร.นิ้ว เข้าไปในห้องเป่าลอก ซึ่งทำด้วยท่อพลาสติกใสทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใน 38 มม. ความยาว ของห้องเป่าลอก 220 มม. และใช้เมล็ดที่ผ่านการเตรียมโดยเงื่อนไขดีที่สุดดังที่ แจงไว้ข้างต้น พบว่า เมล็ดสามารถเคลื่อนไหวและพลิกตัวเองระหว่างการลอก เยื่อภายใต้การไหลอลวนของลมภายในห้องเป่าลอก การทดสอบนี้ให้อัตราการลอก เยื่อเฉลี่ย 16.7 กก/ชม. และเปอร์เซนต์เมล็ดประกบคู่เฉลี่ย 93.6 ซึ่งนับเป็น ค่าที่สูงมากเมื่อเทียบกับผลการทดสอบชุดอื่นที่ผ่านมาและแสดงแนวโน้มที่ดีสำหรับ การพัฒนาและปรับปรุงชุดเครื่องมือดังกล่าวต่อไปให้เป็นเครื่องลอกเยื่อที่มี ประสิทธิภาพ เหมาะสมสำหรับการใช้งานจริงในอุตสาหกรรม และสามารถเผย แพร่การใช้งานได้ในวงกว้างต่อไป