บทคัดย่องานวิจัย

การควบคุมคุณภาพของทุเรียนตัดอ่อน

บัณฑิต จริโมภาส สุทธิพร เนียมหอม สิริชัย โง้วกาญจนนาค และ เจษรินทร์ ตรีสิงหวงศ์

รายงานการวิจัยโครงการการควบคุมคุณภาพทุเรียนตัดอ่อน, สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ. 2530.

2530

บทคัดย่อ

การควบคุมคุณภาพของทุเรียนตัดอ่อนในโครงการ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการส่งออกทุเรียนและส้มโอ

·  งานวิจัยนี้มุ่งที่จะศึกษา คุณสมบัติทางกายภาพของทุเรียนโดยดูการกระจาย
ของความถ่วงจำเพาะกับระยะเวลาบ่ม ความหวาน รวมทั้งคุณสมบัติเชิงกลของ
ก้านทุเรียน ภายใต้การกระทำ Beam Test และ Radial Compression การ
ทดสอบประกอบด้วยเงื่อนไขดังนี้คือ (1) พันธุ์ทุเรียน (Variety) ได้แก่ ชะนี
หมอนทอง ก้านยาว (2) สภาวะความเจริญเติบโตของทุเรียนในขณะเก็บ (Maturity
Stage) (แก่เต็มที่, 10 วันก่อนแก่, 20 วันก่อนแก่) (3) ระยะเวลาหลัง
การเก็บเกี่ยวบนต้น (Ripening peroid) (4) ใช้ 10 ตัวอย่างตามเงื่อนไข
(1), (2) และ (3)
ความถ่วงจำเพาะของทุเรียนทั้ง 3 พันธุ์ ลดลงเป็นสัดส่วนกับระยะเวลการ
บ่ม (Ripening time) โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขของสภาวะความเจริญเติบโตใน
ขณะเก็บ (Maturity stage) นี้ก็สอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้ปลูกทุเรียนที่ว่า
ทุเรียนแก่ขึ้นน้ำหนักยิ่งเบาขึ้น ความถ่วงจำเพาะของทุเรียนที่แก่รับประทานได้
ของพันธุ์ ชะนี หมอนทอง และก้านยาวเฉลี่ย 0.78 (Significance level =1%)
ปริมาตรของทุเรียนลดลงเฉลี่ย 1.09% ต่อวัน
ก้านของทุเรียนแสดงลักษณะยืดหยุ่นได้ (Elastic property) โดยก้านทุเรียน
แก่เต็มที่มีค่าความต้านทานเชิงกล (Mechanically resistance) สูงกว่า
ทุเรียนอ่อน (10 วันก่อนแก่, 20 วันก่อนแก่) โดยวิธี Radial Compression
ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่น (Modulus of elasticity) อยู่ระหว่าง 10.9-11.4 MPa
การทดสอบแบบ Beam Test ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นสูงกว่า
อย่างเป็นสัดส่วนกัน ความหวานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่บ่งบอกความอ่อนแก่ของทุเรียน
ได้ แต่ไม่ค่อยเหมาะสมนักเพราะ ต้องทำให้ผลทุเรียนเสียหายการสำรวจการจำหน่าย
ทุเรียนจากสวนเกษตรกรพบว่า ผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศมีโอกาส
ที่จะได้รับบริโคทุเรียนไม่แก่สูงถึงร้อยละ 35 และ 30 ตามลำดับ