บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยใช้เครื่องเหวี่ยง

คำรณ พิทักษ์

วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530. 95 หน้า.

2530

บทคัดย่อ

การกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยใช้เครื่องเหวี่ยง

·  จากการทดลองกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยใช้เครื่องเหวี่ยง ที่สร้าง
ขึ้นที่ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ เมื่อ
ทอดเมล็ดที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส พบว่า เมื่อบุผนังด้วยกระสอบป่าน ใน
สภาวะที่ดีที่สุด คือ ความเร็วรอบ 680 รอบต่อนาที่ เวลาทอด 50 วินาที จะได้
อัตราส่วนเมล็ดในประกบคู่สูงสุด 72.6 เปอร์เซนต์ แต่กระสอบป่านไม่เหมาะสม
ที่จะใช้เป็นวัสดุบุผนังเนื่องจากเสื่อมสภาพเร็ว ส่วนแผ่นยางพาราไม่เหมาะสมที่
จะใช้เป็นวัสดุบุผนัง เนื่องจากให้อัตราส่วนเมล็ดในประกบสูงสุดไม่เกิน 52.9%
และเมื่อผนังเครื่องเป็นเหล็กกล้า ที่ไม่มีวัสดุบุ เมื่อทดลองโดยใช้ความเร็วรอบ
และเวลาทอดที่เหมาะสม คือ 430 รอบต่อนาที และ 50 วินาที พบว่าจะได้อัตรา
ส่วนเมล็ดในประกบคู่ 67.1 เปอร์เซนต์
เพื่อที่จะหาสภาวะที่เหมาะสมในการกะเทาะยิ่งขึ้น ได้คัดขนาดเมล็ดดิบเป็น
2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก นำเมล็ดมาทอดที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส
ในช่วงเวลาทอดต่าง ๆ กัน แล้วนำไปกะเทาะที่ความเร็วรอบต่าง ๆ กัน
โดยใช้ผนังเหล็กกล้าไม่มีวัสดุบุ พบว่า เมล็ดดิบขนาดใหญ่จะได้เมล็ดในประกบคู่
สูงสุด 70.77 เปอร์เซนต์ ที่เวลาทอด 50 วินาที และความเร็วรอบ 430 รอบต่อนาที
เช่นเดียวกัน ดังนั้น การคัดขนาด เพื่อปรับเวลาทอดและความเร็วรอบให้
เหมาะสมจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการกระเทาะสูงขึ้น