การอบแห้งกล้วยน้ำว้าโดยใช้แสงอาทิตย์เป็นพลังงานเสริม
จงจิตร์ หิรัญลาภ สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ พิชัย นามประกาย ศิริชัย เทพา และณัฐวุฒิ ดุษฏี
การประชุมทางวิชาการความก้าวหน้าทางวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 25-26 มิถุนายน 2535. หน้า 1-15.
2535
บทคัดย่อ
· งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเทคนิคและความเป็นไปได้ในการอบแห้งผลไม้ โดยใช้ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นบางส่วน โดยทำการออกแบบและพัฒนาเครื่องอบแห้ง จากนั้น ทดสอบสมรรถนะของตู้ โดยใช้กล้วยน้ำว้า โดยพิจารณาอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ ที่มี ผลต่ออัตราการอบแห้งเช่น อุณหภูมิของอากาศร้อนที่ใช้อบแห้ง อัตราการไหลจำเพาะ ของอากาศ อัตราการไหลเวียนกลับของอากาศ โดยพิจารณาในแง่คุณภาพที่ได้ เวลา ที่ใช้ในการอบแห้งและพลังงานที่ใช้จากนั้นวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้าน เศรษฐศาสตร์ จากการทดลองพบว่า เมื่ออุณหภูมิแห้งมีค่าประมาณ 60 องศา อัตราการ ไหลจำเพาะของอากาศประมาณ 10 กิโลกรัมอากาศแห้งต่อชั่วโมงต่อกิโลกรัมกล้วยแห้ง อัตราส่วนอากาศเวียนกลับประมาณร้อยละ 80 จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี เวลาที่ ใช้ในการอบแห้งสั้น และความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะมีค่าต่ำ
· จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์พบว่า
ระบบนี้มีความเหมาะสม โดยมีจุดคุ้มทุน 3.6 ปี
ที่ความแตกต่างของราคากล้วยที่อบแห้งในตู้และตากกลางแจ้งเท่ากัย 3 บาท ต่อกิโลกรัม และโดยเฉลี่ยจะประหยัดพลังงานไฟฟ้าของตัวอุ่นอากาศได้ 23%