บทคัดย่องานวิจัย

วิจัยชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในหอมแดง

ลมัย ชูเกียรติวัฒนา, บังเอิญ สีมา และ ธีรพล อุ่นจิตต์วรรธนะ

การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 11-13 กรกฎาคม 2544. ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ. กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ. หน้า 139.

2544

บทคัดย่อ

วิจัยชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในหอมแดง  ผลการตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในหอมแดง จำนวน 126 ตัวอย่าง ในปี พ.ศ. 2540 โดยเก็บตัวอย่างจากภาคเหนือ 52 ตัวอย่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 45 ตัวอย่าง และภาคใต้ 33 ตัวอย่าง สารพิษตกค้ากลุ่มออร์กาโนคลอรีนที่พบมากที่สุด คือ DDT & อนุพันธ์ พบในตัวอย่างจำนวนมากกว่า 75% ของตัวอย่างทั้งหมด ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง <0.001-0.016 มก./กก.

สารพิษตกค้างชนิดอื่นที่พบได้แก่ a- BHC , lindane, dicofol, aldrin & dieldrin และ endosulfan ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง <0.001-0.145 มก./กก. โดยปริมาณที่พบต่ำกว่าค่าปลอดภัยหรือค่า CodexMRLs ที่ FAO/WHO กำหนดไว้ มีเพียง 1 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นหอมแดงจากภาคใต้ที่พบ lindane ปริมาณ 0.145 มก./กก. ที่เกินค่าปลอดภัย ที่กำหนดให้มีใน sugar beet ได้เท่ากับ 0.1 มก./กก. สำหรับสารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟสพบในหอมแดงจากภาคเหนือเท่านั้น พบในตัวอย่าง 28.8% ของตัวอย่างทั้งหมดจากภาคเหนือ โดยพบสารพิษตกค้าง 2 ชนิด ได้แก่ dichlorvos และ methaidophos ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.01-0.03 มก./กก. ซึ่งปริมาณสารพิษกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่พบต่ำกว่าค่าปลอดภัย ถึงแม้ว่าสารพิษตกค้างที่พบในหอมแดงจะมีปริมาณค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับค่า Codex MRLs แต่มี 1 ตัวอย่างที่พบ lindane สูงกว่า Codex MRLs ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาต่อไปเพื่อติดตามสถานการณ์ของารพิษตกค้างในหอมแดง