การทดลองหาวิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของดอกบัวพันธุ์สัตตบงกช(Nelumbo nucifera Gaertn)
ช. ฎฐ์ศิริ สุยสุวรรณ และ คนึงนิจ พิชญานนท์
กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ, การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 1, 11-13 กรกฎาคม 2544. ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ. หน้า 167.
2544
บทคัดย่อ
การทดลองหาวิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของดอกบัวพันธุ์สัตตบงกช(Nelumbo nucifera Gaertn)
การทดลองหาวิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบงกช (
Nelumbo nucifera Gaertn)
แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เปรียบเทียบการเก็บเกี่ยวดอกบัวในระยะที่โผล่พ้นน้ำ 8, 9, 10, 11 และ 12 วัน โดย 10 วัน เป็น control
(วิธีการของชาวสวน) ปรากฏว่า 10 วัน มีอายุการปักแจกันดีที่สุดเฉลี่ย 3 วัน และมีการ น้อยที่สุดเฉลี่ย 65.27 nl/g/hr.
ในขณะที่ 8 วันมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยน้อยที่สุด และผลิต ethylene
มากที่สุดเฉลี่ย 177.78 nl/g/hr.
การทดลองที่ 2 ทำการปรับปรุงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้ระยะการเก็บเกี่ยวที่ดีที่สุดจากการทดลองที่ 1 ซึ่งก็คือเก็บเกี่ยวในระยะดอกบัวโผล่พ้นน้ำ 10 วัน มาปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ เพื่อลดการขาดน้ำและความช้ำ ผลปรากฏว่า การใช้มีดที่คมและสะอาดตัดก้านดอกบัวจากนาบัวเพื่อลดความช้ำ จากนั้นบรรจุลงถังพลาสติกที่บรรจุน้ำแทนการหอบด้วยมือเพื่อลดความช้ำและการขาดน้ำแล้วทำการหุ้มดอกด้วยโฟมตาข่ายเพื่อลดความช้ำของกลีบดอกและหุ้มโคนก้านดอกด้วยสำลีชุบน้ำในระหว่างการขนส่งเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ทำให้มีอายุการปักแจกันดีกว่าวิธีการอื่นๆ ที่ปรับปรุงเพียงขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง โดยมีอายุการปักแจกันของ 3 การทดลองเฉลี่ย 5 งัน และผลิต ethyleene
น้อยที่สุดเฉลี่ย 46.52 nl/g/hr.
ในขณะที่ control
มีอายุการปักแจกันของ 3 การทดลองเฉลี่ย 3.22 วัน และผลิต ethyleene
มากที่สุดเฉลี่ย 106.62 nl/g/hr.