เทคโนโลยีการเก็บรักษากล้วยหอมทองที่เหมาะสม
โชติช่วง เยี่ยมฉวีและจริงแท้ ศิริพาณิช
การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 2 , 28 – 30 พฤษภาคม 2545 ณ โรงแรมเจริญธานี ปริ๊นเซส ขอนแก่น .กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ. หน้า 48
2545
บทคัดย่อ
เทคโนโลยีการเก็บรักษากล้วยหอมทองที่เหมาะสม
การศึกษาเทคโนโลยีการเก็บรักษากล้วยหอมที่เหมาะสมโดยศึกษาผลของอายุและสัดส่วนของ CO2:O2 ต่อพัฒนาการสุกและคุณภาพของกล้วยหอมทอง วางแผนการทดลองแบบ 5x 5 Factorial in CRD ประกอบด้วย 2 ปัจจัยคือ อายุการเก็บเกี่ยวกล้วยหอมทอง 5 อายุและสัดส่วนของ CO2:O2 5 ระดับ เก็บรักษาที่อุณภูมิ 16±2oC พบว่า ผลกล้วยหอมทองอายุการเก็บเกี่ยว 70 วัน+ CO2 0 เปอร์เซ็นต์ มีอายุการเก็บรักษานานที่สุดคือมากกว่า 76.00 วัน โดยที่สีเปลือกของกล้วยหอมทองยังคงมีสีเขียว ผลกล้วยหอมทองที่บ่มให้สุกที่อุณหภูมิห้องก่อนการเก็บรักษามีปริมาณ TSS ระหว่าง 20.00 – 23.07 oBrix เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด ความแน่นเนื้อ TA ปริมาณคลอโรฟิลล์ สีเปลือกและสีเนื้อ เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ภายหลังการเก็บรักษากล้วยหอมทอง 21, 28 , 35, 42, 49 และ 56 วัน แล้วนำไปบ่มให้สุกที่อุณหภูมิห้อง พบว่า กล้วยหอมทองมีลักษณะที่ดีและมีรสชาติไม่แตกต่างจากกล้วยหอมทองที่บ่มให้สุกก่อนการเก็บรักษาซึ่งการค้นพบนี้สามารถใช้เก็บรักษากล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกได้