อิทธิพลของการห่อผลต่อคุณภาพสีผิวของลำไยหลังการเก็บเกี่ยว
ธีรนุช เจริญกิจ, พาวิน มะโนชัย และ นภดล จรัสสัมฤทธิ์
การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 3 , 22-25 เมษายน 2546 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร. กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ. หน้า 208
2546
บทคัดย่อ
การศึกษาอิทธิพลของวัสดุห่อต่อคุณภาพสีผิวลำไย โดยใช้วัสดุห่อ 4 ชนิดคือ ถุงกระดาษสีน้ำตาล ถุงรีมย์ ถุงตาข่ายพรางแสง(Saran, 50%) และถุงตาข่ายสีฟ้า เทียบกับที่ไม่ได้ห่อผล(Control) บนต้นลำไยอายุประมาณ 6 ปี มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มประมาณ 4 เมตร พบว่า ค่าความสว่างของสีที่วัดได้โดยใช้เครื่องวัดสี(Colorimeter) ของผลลำไยที่ห่อด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาลมีค่าสูงที่สุด (สว่างมากที่สุด, 57.95) ในขณะที่การห่อด้วยวิธีอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (เฉลี่ย 52.30) ขณะที่ขนาดของผลที่ห่อด้วยถุงกระดาษหรือถุงรีเมย์(11.53 กรัม) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับชุดควบคุมหรือการห่อด้วยถุงตาข่ายสีฟ้า (12.24 กรัม) แต่มีขนาดผลเล็กกว่าการห่อด้วยถุงตาข่าย พรางแสง (13.17 กรัม) ส่วนความหนาเปลือกของผลลำไยที่ห่อด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล(0.67 มม.) ไม่แตกต่างตากความหนาเปลือกของลำไยที่ไม่ห่อผลหรือห่อด้วยถุงตาย่ายพรางแสง(0.75 มม.) แต่บางกว่าการห่อด้วยถุงรีเมย์หรือถุงตาข่ายสีฟ้า(0.84 มม.)และไม่พบว่ามีอิทธิพลของวัสดุห่อต่อเปอร์เซ็นต์ผลร่วงของลำไย โดยผลลำไยร่วงเฉลี่ยประมาณ 11 %