โรโด คืออะไร คือแบคทีเรียสีม่วงแดงที่ใช้แสงในการดำรงค์ชีวิตซึ่งมีอยู่มากมายหลากหลายสายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์ให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปในที่นี้จะกล่าวถึงสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพที่เหมาะกับประเทศไทยได้แก่ Psudomonas sp, Rhodopseudomonas sp. ซึ่งมีความสามารถพิเศษที่หลากหลายใช้ในวงการเกษตรต่างๆไม่ว่าจะเป็น สัตว์น้ำ สัตว์บก พืชสวนพืชไร่ อุตสาหกรรม บำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้
ส่วนประกอบ เชื้อจุลินทรีย์ Psudomonas sp. Rhodopseudomonas sp Psudomonas sp.( ซูโดโมแนส ) คืออะไร Psudomonas sp. .( ซูโดโมแนส ) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับไนเตรตที่มีมากเกินพอ โดยจะทำงานในสภาพที่มีออกซิเจนและยังสามารถควบคุมสารประกอบอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้ด้วยPsudomonas sp. .( ซูโดโมแนส ) เป็นแบคทีเรียพวกที่ใช้อินทรีย์คาร์บอนจากโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งคาร์บอน โดยเรียกกลุ่มนี้ว่า Heterotrophs ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนไนไตรต์หรือไนเตรตให้เป็นก๊าซไนโตรเจนโดยแบคทีเรียนี้เรียกว่า Denitrifcation เป็นกระบวนการที่เกิดในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนและต้องการสารอินทรีย์คาร์บอนเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน โดยแหล่งคาร์บอนเหล่านี้มาจากดินโคลนตะกอนเลน เราเรียกแบคทีเรียกลุ่มนี้ว่า Denitrifying bacteria Rhodopseudomonas sp.( โรโดซูโดโมแนส ) คืออะไร Rhodopseudomonas sp. .( โรโดซูโดโมแนส ) เป็นแบคทีเรียที่สามารถใช้แสงเป็นแหล่งพลังงานและออกซิไดซ์สารประกอบอินทรีย์โดยเฉพาะกรดอินทรีย์หลายชนิด ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนแต่มีแสงได้ นอกจากนี้สายพันธุ์นี้สามารถตรึงไนโตรเจนได้ ผลผลิตที่ได้จะเป็นแหล่งอาหารที่ดีของพืชทุกชนิด เซลล์ประกอบไปด้วย คาโรตินอยด์ เรดครอโรฟีล ซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ ช่วยต้านแบคทีเรียก่อโรค,วิตามิน บี 12,วิตามิน อี,โปรทีน,ไซโตไคนิน [Cytokinin] , ซีเอติน [Zeatin] ,ออกซิน [Auxin] , กรดอินโดล -3- อะซิติก [ Indole-3-acetic acid : IAA] , กรดอินโดล -3-บิวทีริก [ Indole-3-butyric acid : IBA] ซึ่งสารตั้งต้นที่กล่าวมานั้นเป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับพืชซึ่งจะมีแบคทีเรียไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีความสารถในการผลิตฮอร์โมนพืช Psudomonas sp.( ซูโดโมแนส ) Rhodopseudomonas sp.( โรโดซูโดโมแนส ) ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ โรโด จึงถือได้ว่าเป็นแบคที่เรียที่มีประโยขน์อย่างมากต่อการเพาะปลูกพืชและยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อม
ประโยชน์ ช่วยลดปริมาณก๊าซไฮโดรซัลไฟด์ (H2S) ในดินช่วยให้รากของพืชขยายได้ดีและทำให้พืชกินปุ๋ยได้ดีขึ้น ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหลักลง 50% ช่วยให้ผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 % เนื่องจากพืชมีความสามารถในการดูดกินปุ๋ยได้ดี ขึ้น ช่วยให้พืชมีความแข็งแรงและต้านทานโรคได้ดี
|