บทคัดย่องานวิจัย

กระบวนการตัดสินใจซื้อลำไยสด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร

รสรินทร์ คำมารุณ

วิทยานิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2547. 69 หน้า.

2547

บทคัดย่อ

กระบวนการตัดสินใจซื้อลำไยสด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร

การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง กระบวนการตัดสินใจซื้อลำไยสด : กรณีศึกษาเปรียบเทียบผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการตัคสินใจซื้อลำไยสดของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร การศึกษาใช้วิธีการออกแบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน แบ่งเก็บตัวอย่างจากจังหวัตเชียงใหม่จำนวน 200 คน และกรุงเทพมหานครจำนวน 200 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างตามสะดวก สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ไควสแคว์ และ t-test

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เคยบริโภคลำไยสดในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุช่วง26-35ปี สถานภาพโสค มีสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทหรือร้านค้า มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่ามีรายไค้ 5,000 บาท และ 5,001 - 10,000 บาทต่อเดือน ผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร มีกระบวนการตัดสินใจซื้อแตกต่างกัน ในขั้นการรับรู้ปัญหาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่จะซื้อลำไยสดเมื่อต้องการบริโภค ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานคร จะซื้อลำใยสดเมี่อพบเห็น

ขั้นแสวงหาขอมูล พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่จะค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจซื้อลำไย ในเรื่อง ความปลอดภัยจากสารเคมีและแหล่งเพาะปลูกกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานคร จะค้นหาข้อมูลเรื่องขนาดของผลลำไยมากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่

ขัน ประเมินทางเลือก พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่ให้ความสำคัญกับปัจจัยในการประเมินทาง เลือกในเรื่อง รสชาติ ขนาดของผล ความสดใหม่ ราคาผลไม้ชนิดอื่นที่ซื้อแทนลำไย การลดราคา และความปลอดภัยจากสารเคมีมากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญในเรื่องขนาดของผลมากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่

ขั้น การซื้อพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับอิทธิพลจากเพื่อนและผู้ขายในการตัดสินใจซื้อลำไยแต่ละครั้งมากกวาผู้ ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานคร ส่วนสถานที่ซื้อลำไยสดพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานครจะซื้อลำไยสดที่ ห้างสรรพสินค้ามากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะการบริโกค พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่นำลำไยสดไปทำเป็นอาหารว่าง และอบแห้งมากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานคร ปัจจัยที่สาคัญูที่สุดในการตัดสินใจซื้อลำไยสด พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่ให้ความสำคัญต่อสถานที่ขายมากกว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานคร ปริมาณลำไยสดที่ซื้อแต่ละครั้งโดยเฉลี่ยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานครซื้อลำไยสดแต่ละครั้งเฉลี่ย1 กิโลกรัม มากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่ในกรณีที่มีผลไม้ตามฤดูกาลชนิดอื่นวางจำหน่ายพร้อมกับลำไยในราคาที่ใกล้เคียงกัน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่จะยังคงซื้อลำไยสดอย่างแน่นอนในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานครอาจจะซื้อลำไยสด

ขั้น ประเมินหลังการซื้อ พบว่า ในด้านความคิคเห็นเมื่อบริโภคลำไยสดที่ซื้อมา ผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่ มีความพอใจ และมีการแนะนำให้บุคคลอื่นซื้อลำไยในอนาคต ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานครค่อนข้างพอใจและอาจจะแนะนำให้บุคคล อื่นซื้อลำไยในอนาคต นอกจากนี้ปัญหาที่พบในการตัดสินใจซื้อลำไยสด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในจังหวัดเชียงใหม่จะพบปัญหาในเรื่องสารเคมีปนเปื้อน ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพมหานครจะพบปัญหาเรื่องรสชาติ