บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการจุ่มน้ำร้อนและน้ำเย็นต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

วรรณวรางค์ พัฒนะโพธิ์, รัฐพล พรประสิทธิ์, ปริญญา จันทรศรี และวิชชา สอาดสุด

กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ. การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 7, 26-30 พฤษภาคม 2551. ณ โรงแรม อมรินทร์ลากูน จ. พิษณุโลก. 391 หน้า

2551

บทคัดย่อ

ผลของการจุ่มน้ำร้อนและน้ำเย็นต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

                เมื่อนำมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองไปจุ่มในน้ำร้อนและน้ำเย็นที่อุณหภูมิต่างๆ คือ จุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 55°Cเป็นเวลา 5 นาที แล้วนำไปจุ่มน้ำเย็นที่ 5 หรือ 13°Cเป็นเวลา 30 วินาที จุ่มน้ำร้อนที่ 60, 65 และ 70°Cเป็นเวลา 15, 20, 25, 30 และ 35 วินาที แล้วนำไปจุ่มน้ำเย็นที่ 5 หรือ 13°Cเป็นเวลา 30 วินาที พบว่าผลมะม่วงไม่ปรากฏลักษณะเส้นสีน้ำตาลที่ผิว ยกเว้นผลที่จุ่มน้ำร้อนที่ 65°Cเป็นเวลา 35 วินาที แล้วจุ่มน้ำเย็นที่ 5°Cเป็นเวลา 30 วินาที ส่วนการจุ่มที่อุณหภูมิ 70°Cเป็นเวลา 20-35 วินาที แล้วนำไปจุ่มน้ำเย็นที่ 5 หรือ13°Cเป็นเวลา 30 วินาที จะปรากฏลักษณะเส้นสีน้ำตาล 8.33-100%ของพื้นที่ผิวของผล และผลมะม่วงที่จุ่มน้ำร้อนที่ทุกกรรมวิธีจะบ่มสุกในวันที่ 5 เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง เมื่อสังเกตลักษณะเนื้อของผลหลังจากสุกพบว่ามะม่วงที่จุ่มน้ำร้อน 65 และ 70°Cทุกกรรมวิธีเนื้อของมะม่วงมีอาการฉ่ำน้ำและเส้น Vein ของเมล็ดมีสีน้ำตาล ส่วนการจุ่มที่อุณหภูมิ 55°Cเป็นเวลา 5 นาที และที่อุณหภูมิ 60°Cทุกการทดลองไม่ปรากฏอาการดังกล่าว