บทคัดย่องานวิจัย

คุณภาพของผลลำไยสดที่ผ่านการรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) โดยเทคนิคหมุนเวียนอากาศแบบบังคับในแนวตั้ง

กนกวรรณ ขับนบ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล และจริงแท้ ศิริพานิช

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 151-154 (2554)

2554

บทคัดย่อ

คุณภาพของผลลำไยสดที่ผ่านการรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) โดยเทคนิคหมุนเวียนอากาศแบบบังคับในแนวตั้ง

การศึกษาคุณภาพของผลลำไยสดพันธุ์ดอที่ผ่านกระบวนการรมด้วย SO2 โดยอากาศแบบบังคับในแนวตั้งด้วยการใช้  SO2จากถังอัดความดันโดยตรงและจากการเผาผงกำมะถันร่วมกับความเข้มข้นหลังสิ้นสุดการรม  2 ระดับ คือ 2,000 และ 4,000 mg/lโดยใช้อัตราเร็วของอากาศ 0.60 m3/sและใช้ตะกร้าทรงสี่เหลี่ยมคางหมู (บรรจุภัณฑ์ทางการค้า) เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2°Cความชื้นสัมพัทธ์ 95 %เป็นระยะเวลา 20 วัน พบว่าการใช้  SO2ทั้ง 2 รูปแบบและระดับความเข้มข้นหลังสิ้นสุดการรมทั้ง 2 ระดับ ไม่มีผลต่อคุณภาพของผลลำไย คือ มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ประมาณ 16.7-18.2องศาบริกซ์และมีค่าความสว่าง (L*) ของผิวเปลือกประมาณ 46-48 ซึ่งไม่แตกต่างกับผลลำไยที่ผ่านกระบวนการรม  SO2  จากผู้ประกอบการและมีคุณภาพดีกว่าผลลำไยที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการรม SO2(ชุดควบคุม) ส่วนปริมาณ SO2 ตกค้างในเปลือกและเนื้อผลหลังการรมทันทีพบประมาณ 1,414-2,177 และ 1-9 mg/kg ตามลำดับ และลดลงจนเหลือประมาณ 852-1,097 และ 0 mg/kg ตามลำดับ เมื่อเก็บรักษาไว้  20 วัน โดยยังคงป้องกันการเกิดโรคและการเกิดสีน้ำตาลบนเปลือกผลลำไยได้ดีเช่นเดียวกับการรมด้วยวิธีทางการค้าทั่วไป