เพาะเลี้ยงกุ้งมังกรในกระชัง
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 51
เพาะเลี้ยงกุ้งมังกรในกระชัง
กุ้งมังกรเป็นสัตว์น้ำที่หายาก มีราคาแพง การเลี้ยงกุ้งมังกรในกระชังส่วนใหญ่จะหาลูกพันธุ์กุ้งมังกรจากชาวประมงที่รวบรวมได้จากธรรมชาติ ส่วนใหญ่ที่ขนาด 1 นิ้ว ราคาตัวละ 70-80 บาท นำมาอนุบาลในกระชังตาถี่ประมาณ 2 เดือนโดยให้อาหารประเภทปลาหรือหอยสับ อนุบาลครบ 2 เดือนจะได้ลูกกุ้งมังกรขนาดประมาณ 200 กรัม ราคาขายตัวละประมาณ 250 บาทซึ่งกุ้งมังกรขนาดนี้สามารถนำไปเลี้ยงในกระชังได้เลย หากเกษตรกรที่พอมีพื้นที่ขยายให้ได้ลูกพันธุ์กุ้งมังกรรวบรวมกุ้งมังกรมาเลี้ยงไว้ในกระชังเพื่อให้เป็นพ่อแม่พันธุ์
ให้แม่กุ้งได้ผสมพันธุ์ในกระชังจนไข่ติดที่ท้องตัวเมียจากนั้นนำแม่กุ้งขึ้นมาเพาะฟักอนุบาลในบ่อซีเมนต์ก่อนนำลูกกุ้งมังกรไปปล่อยตามป่าชายเลนหรือป่าโกงกางเพื่อให้มีชีวิตรอดอยู่ตามธรรมชาติจนลูกกุ้งได้ขนาดจึงจะนำมาเลี้ยงหรืออนุบาลในกระชัง
กุ้งมังกรมีหลายสายพันธุ์ เช่น กุ้งมังกร 7 สี, หรือกุ้งมังกรสีน้ำตาลกุ้งมังกร 7 สีจะมีผู้นิยมเลี้ยงกันมากกว่าสายพันธุ์อื่นเพราะเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตดีกว่าพันธุ์อื่น ๆ เลี้ยงประมาณ 7-8 เดือน จะได้ขนาด 800-1,000 กรัม/ตัว ราคาอยู่ในระหว่าง 1,200-1,500 บาท/กก. ส่วนกุ้งมังกรสีน้ำตาล แม้ว่าต้นทุนลูกพันธุ์จะถูกกว่ามากก็ตาม แต่ผู้เลี้ยงไม่ค่อยนิยม เพราะตลาดมีความต้องการน้อยการเลี้ยงจะโตช้ากว่า ราคาขายจะได้ก็อยู่ที่ประมาณ 600-800 บาท/กก.
ปัจจุบันสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลาโดยกลุ่มงานวิจัยระบบฯ ได้นำกุ้งมังกรสีน้ำตาล (Polyphagus) ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์มาจากหน่วยงานประมงประเทศพม่าให้นำมาเลี้ยงประมาณ 50 ตัวลูกกุ้งมังกรที่นำมาปล่อยขนาด 50 กรัมต่อตัวทดลองเลี้ยงไว้ในบ่อซีเมนต์ระบบน้ำหมุนเวียน
การเลี้ยงกุ้งมังกรในกระชังมีการเลี้ยงกันมากแถบฝั่งอันดามันเช่นบริเวณตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต, ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งก่อนที่จะเกิดสึนามิบริเวณดังกล่าวมีการเลี้ยงกุ้งมังกรกันเป็นอาชีพบางคนก็เลี้ยงแบบผสมผสานควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลาและหอยแมลงภู่ประมาณ 10 ราย ๆ ละ 4-6 กระชังบางรายที่มีกำลังขยับขยายก็จะหาทางเลี้ยงเพิ่มขึ้น ซึ่งทุก อย่างกำลังจะไปด้วยดีต่างคนหวังไว้ว่าจะจับขายเมื่อเวลาเหมาะมาถึงเช่นช่วงเทศกาลปีใหม่ ใกล้ตรุษจีน
กระชังที่ใช้เลี้ยงกุ้งมังกร หากผู้เลี้ยงที่ซื้อขนาด 1 นิ้วก็ต้องใช้อวนตาถี่เพื่ออนุบาลไว้ก่อน แต่หากเป็นขนาด 200 กรัมจะใช้กระชังขนาด 3x3 เมตร สามารถปล่อยเลี้ยงได้ประมาณ 50 ตัวต่อกระชัง ส่วนด้านบนกระชังต้องมีอวนปิดคลุมไว้เพื่อป้องกันไม่ให้กุ้งมังกรไต่ออกมานอกระชัง ค่าความเค็มอยู่ที่ 30-35 ppt. แต่พื้นที่บางแห่งความเค็มอาจไม่เท่ากัน แต่ไม่ควรที่จะต่ำกว่า 25 ppt. แต่ทางที่ดีควรมีความเค็มสูงเพราะจะเลี้ยงง่ายและเจริญเติบโตได้ดีกว่า
อาหารที่ใช้เลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นปลาหรือหอยแมลงภู่สดผู้เลี้ยงบางรายให้ทุกวัน บางรายจะให้ 2-3 วันต่อครั้ง กุ้งมังกรสามารถจับขายได้ตลอดเวลา จะมีพ่อค้ามารับซื้อตลอดตั้งแต่ขนาด 600-700 กรัมต่อตัว จะได้ราคาดีหากขนาดประมาณ 500 กรัม ก็จำหน่ายได้แล้ว แต่จะได้ราคาถูกส่วนใหญ่นำส่งร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 3 มกราคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=150355&NewsType=1&Template=1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น