กางแผนบริหารจัดการผลไม้ เกษตรพร้อมรับผลผลิตทะลัก
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 51
กางแผนบริหารจัดการผลไม้ เกษตรพร้อมรับผลผลิตทะลัก
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแผนบริหารจัดการผลไม้รายสินค้า ได้แก่ ลำไย ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง และลิ้นจี่ เพื่อแก้ไขปัญหาผลไม้ในช่วงเวลาผลไม้ออกสู่ตลาดมาก โดยจะนำแผนดังกล่าวเสนอ คชก. และครม. พิจารณาอนุมัติต่อไป
ทั้งนี้สำหรับภาคตะวันออก คาดว่าจะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดมากช่วง 1-31 พฤษภาคม จำนวน 247,000 ตัน มังคุด ช่วง 1 - 31 พฤษภาคม จำนวน 66,000 ตัน และเงาะช่วง 21-10 มิถุนายน จำนวน 120,000 ตัน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะดำเนินมาตรการบริหารจัดการคุณภาพผลผลิต เร่งรัดการกระจายผลผลิตภายในประเทศ รวมทั้งผลักดันการส่งออก ตลอดจนส่งเสริมการแปรรูป
สำหรับภาคใต้ ประกอบด้วย ภาคใต้ตอนบน ซึ่งผลผลิตมังคุด เงาะและลองกอง ออกสู่ตลาดมากช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ส่วนภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จ.ยะลา นราธิวาส และปัตตานี ผลผลิตลองกองจะออกสู่ตลาดมากช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน จะดำเนินมาตรการบริหารจัดการคุณภาพผลผลิต โดยสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนและค่าใช้จ่ายเป็นค่าบรรจุภัณฑ์ เพื่อจัดส่งและจำหน่ายแก่ผู้ค้าและผู้รับซื้อผลไม้ พร้อมทั้งเร่งรัดการกระจายผลผลิตภายในประเทศ
ส่วนการบริหารจัดการผลไม้ในภาคเหนือ คาดว่าผลผลิตลำไยจะออกสู่ตลาดมากในช่วง กรกฎาคม-สิงหาคม จำนวน 325,000 ตัน โดยจะเร่งกระจายผลผลิตภายในประเทศ ผลักดันการส่งออก ส่งเสริมการแปรรูป ทั้งลำไยเนื้อสีทอง ลำไยอบแห้งทั้งเปลือก และลำไยกระป๋อง นอกจากนั้นจะดำเนินมาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทย ทั้งการส่งเสริมตลาดภายในประเทศ และการส่งเสริมตลาดต่างประเทศ อาทิ จีน อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ ยุโรป และออสเตรเลีย
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 30 เมษายน 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=106658
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น