หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน
อากาศเปลี่ยนปลาเสี่ยงตายสูง ประมงเตือนผู้เลี้ยงดูแลใกล้ชิด
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 51
อากาศเปลี่ยนปลาเสี่ยงตายสูง ประมงเตือนผู้เลี้ยงดูแลใกล้ชิด
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน ส่งผลให้อุณหภูมิและคุณสมบัติทางเคมีของน้ำมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ปลาเกิดภาวะความเครียดและป่วยได้ง่าย ทั้งนี้ชนิดของโรคที่พบในปลานั้นแตกต่างกันไป คือ บางพื้นที่ของการเลี้ยง ตรวจพบการติดเชื้อโรคแบคทีเรียกลุ่มเฟล็กซิแบคทีเรีย ซึ่งเกาะและทำลายเซลล์ผิวชั้นนอกของปลาบริเวณปลายครีบ ลำตัว และเหงือก ทำให้ปลา มีอาการครีบเปื่อย ตัวซีดและอาจมีรอยแผลตามลำตัว เหงือกบวมและเน่า ขณะที่บางพื้นที่พบการติดเชื้อแบคทีเรียแอโรโมแนส หรือ สเตรปโทคอกคัส อีกด้วย โดยอาการที่สังเกตได้ คือ ปลาจะตกเลือดตามลำตัวและในช่องท้อง หรือตามีสีขาวขุ่น
สำหรับการรักษาโรคเหล่านี้ทำได้ยาก เนื่องจากเหงือกปลาเป็นอวัยวะที่สำคัญ หากสภาพของเหงือกถูกเชื้อโรคทำลายอย่างหนักจะทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียเป็นวงกว้าง ในแม่น้ำหากมีการเลี้ยงปลาในกระชังอย่างหนาแน่นและกระชังปลาผูกติดกันมากๆ จะทำให้อัตราการติดเชื้อของปลาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ หากพบปลาป่วยหรือตาย ควรรีบนำปลาขึ้นมาทำลายโดยการเผาหรือฝัง หากจะนำไปบริโภคจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้สุกด้วยความร้อนก่อน
ส่วนมาตรการป้องกันโรคที่จะเกิดกับปลา หรือวิธีการเลี้ยงปลาในกระชังที่ถูกต้องนั้น กรมประมงได้มีการเผยแพร่ สู่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังมาโดยตลอด อย่างไรก็ดีเกษตรกรสามารถปรึกษาปัญหาการเจ็บป่วยของปลาที่เลี้ยงไว้ ในกระชังได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดหรือสำนักงานประมงจังหวัดทั่วประเทศ
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 30 พฤษภาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=109426
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น