เมื่อวันที่ 11 มกราคม 51
คุณสมคิด พรหมมา เจ้าหน้าที่ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ ได้เรียบเรียงเรื่องการทำพืชหมักอาศัยจุลินทรีย์แลคโตบาซิลัสที่เป็นกลุ่มหลักในการผลิตกรดแลคติกไว้ว่า การถนอมคุณภาพ การหมักที่ไม่ถูกต้องจะได้กรดอะซีติก หรือกรดบิวทีริก ซึ่งกรดสองชนิดหลังนี้ถ้าเกิดมากจะทำให้คุณค่าทางโภชนาการมีความชื้นสูง จะได้กรดอะซีติก เกิดน้ำไหลออกมาก มีการทำลายโปรตีนในพืชและของพืชหมักต่ำลงด้วย
ซึ่งเกิดได้จากการหมักพืชที่มีโปรตีนสูง จะได้กรดบิวทีริก ได้แอมโมเนีย ทำให้ pH สูงไม่สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ได้ เกิดการเน่าเสีย กลิ่นเหม็น การหมักพืชที่มีแป้งและน้ำตาลต่ำ จะเกิดกรดน้อย ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ จึงต้องมีการเสริมแป้ง น้ำตาล เพื่อหมักร่วมดังนั้น การหมักพืชที่ดีจึงต้องมีปัจจัยที่เหมาะสมกับพืช นับตั้งแต่วัสดุหมักต้องมีวัตถุแห้งพอเหมาะคือ ประมาณ 30-35% มีแป้งและน้ำตาลที่เหมาะสมคือ 7-8% มีโปรตีนไม่สูง คือประมาณ 5-12% หากสูงกว่านี้จะเกิดแอมโมเนียทำให้เพิ่ม pH การหมักพืชที่โปรตีนสูงต้องหมักร่วมกับรำละเอียด หรือมันเส้นเพื่อปรับ DM และ แป้งน้ำตาล ทำให้อับอากาศโดยการอัดย่ำให้แน่นหรือทำให้เป็นสุญญากาศ โดยการบรรจุถังพลาสติกย่ำให้แน่น หรือทำเป็นกองปิดทับด้วยพลาสติกไม่ให้อากาศเข้าและใช้ยางรถยนต์ทับ สำหรับใบและเถามันมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมกับการหมักคือมีโปรตีนสูง มีเยื่อใยต่ำ มีแป้ง-น้ำตาลต่ำ มีวัตถุแห้งต่ำ
ลักษณะดังกล่าวคล้ายคลึงกับใบกระถินหรือใบมันสำปะหลัง จึงจำเป็นต้องหมักร่วมกับรำละเอียด หรือมันเส้น และกำหนดวัตถุแห้งก่อนหมักประมาณ 30-35% วิธีการคำนวณให้หาวัตถุแห้ง (DM) ใบและเถามัน โดย อบที่ 70 C จนแห้ง สมมุติได้ 20% จากนั้นนำมาผสมกับรำละเอียด ซึ่งน่าจะมี DM ประมาณ 88% ตั้งวัตถุแห้งที่ต้องการประมาณ 30% ใช้วิธีคำนวณแบบเพียร์สันในการทำ
เนื่องจากมันมีลักษณะเป็นเถา จึงต้องหั่นหรือสับให้มีขนาดประมาณ 5-10 ซม. ก่อน แล้วนำมาคลุกผสมกับรำละเอียดให้เข้ากัน ถ้าเถาใบมันค่อนข้างแห้ง ในทางปฏิบัติมักใส่น้ำเพื่อให้รำเกาะติดกับใบและเถามัน โดยใช้ปริมาณน้ำเท่ากับรำ คลุกให้เข้ากัน จากนั้น จึงบรรจุในถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร โดยย่ำเป็นชั้น ๆ ให้แน่น ทำประมาณ 5-7 ชั้น แล้วปิดล็อกฝาถัง เก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 1 เดือน จึงเปิดมาใช้ได้
ในการใช้เลี้ยงสัตว์นิยมใช้หญ้าแห้งหรือฟางเสริมวันละประมาณ 1-2 กิโลกรัม เพื่อกระตุ้นการเคี้ยวเอื้อง และลดความเป็นกรดในกระเพาะ โดยมากพืชหมักลักษณะนี้จะมีคุณภาพดี มีกลิ่นหอม เพราะมีวัตถุแห้งเหมาะสมจากการผสมรำ มีโปรตีนสูง มีการทดลองใส่กากน้ำตาล เกลือ มันเส้น ข้าวโพดบด หรือใช้ฟางสับเพิ่ม DM พบว่าได้ผลดีไม่เท่ารำ
ในกรณีที่มีการนำหัวมันมาสับผสมกับลำต้นและใบ อาจเกิดปัญหาจากหัวมันมีความชื้นสูง ไม่สามารถจำกัด DM ก่อนหมักให้อยู่ที่ 30-35%ได้ และต้องใช้ปริมาณมากขึ้นเพื่อเร่งการเกิดกรด ในกรณีนี้พบว่ามักเกิดกรดอะซีติกมากขึ้น และได้คุณภาพดีไม่เท่ากับการใช้เถาและใบมันผสมรำละเอียด อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติสามารถทำได้คล้าย ๆ กับต้นใบและหัวมันสำปะหลัง ที่นำมาหั่นผสมร่วมกัน และหมัก ใช้เลี้ยงสุกรได้ผลดี.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 11 มกราคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=151133&NewsType=1&Template=1