หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน
พัฒนา "ข้าวฟ่างหวาน" ผลิตเอทานอล นักวิจัย "มข." ชี้ลดวิกฤติพลังงาน-ชาติเซฟ 5 หมื่นล้าน
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 51
พัฒนา "ข้าวฟ่างหวาน" ผลิตเอทานอล นักวิจัย "มข." ชี้ลดวิกฤติพลังงาน-ชาติเซฟ 5 หมื่นล้าน
ศ.ดร.อานนท์ บุณยรัตเวช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) เปิดเผยว่า วช. ได้ให้การสนับสนุน รศ.ดร.ประสิทธิ์ ใจศิล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) และทีมวิจัยในการค้นหาวัตถุดิบชนิดอื่นมาผลิตเอทานอลได้เป็นผลสำเร็จ นั่นคือ "ข้าวฟ่างหวาน" ซึ่งคาดว่าจะเป็นพืชหนึ่งที่สามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลได้ เช่นเดียวกับอ้อยและมันสำปะหลัง โดยจากการวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์ มข. พบว่าได้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวฟ่างหวาน ซึ่งปัจจุบันได้แนะนำพันธุ์ใหม่นี้ในชื่อ "มข.40" จากสายพันธุ์เคลเลอร์(Keller) นำเข้ามาจากสหรัฐ และได้ทำการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์ที่มีลำต้นสูงใหญ่อายุเก็บเกี่ยว 100 วัน มีเมล็ดน้อย ช่อดอกหลวม ความหวาน 18-22 บริกซ์ เยื่อใย 10.5-13.5% และค่าความบริสุทธ์ของน้ำตาลประมาณ 9-10 ซีซีเอส. นอกจากนี้ก็มีพันธุ์ริโอ(Rio) เรย์(Wray) และพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ที่อาจใช้ปลูกเป็นข้าวฟ่างหวานเพื่อผลิตเอทานอลได้
ด้าน รศ.ดร.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ข้าวฟ่างหวานเป็นพืชที่เหมาะจะผลิตเอทานอล เพราะน้ำคั้นของลำต้นมีความหวานใกล้เคียงกับอ้อย สามารถนำไปหีบเพื่อเอาน้ำคั้นมาหมักเป็นเอทานอลได้ไม่ต่างจากอ้อย โดยให้ผลผลิตเอทานอล 70 ลิตร/ข้าวฟ่างหวาน 1 ตัน น้ำเชื่อมเข้มข้นจากต้นข้าวฟ่างหวาน 1 ตัน ที่ค่าความหวาน 75-80 บริก สามารถแปรรูปเป็นเอทานอลได้ปริมาณถึง 380 ลิตร ส่วนกากน้ำตาล 1 ตัน ที่ค่าความหวานเท่ากัน แปรรูปเป็นเอทานอลได้ 250 ลิตร จุดเด่นข้าวฟ่างหวาน คือ ให้ผลผลิตได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี ปลูกเพียง 100-120 วันเท่านั้น จึงสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ 3 ครั้ง/ปี และเป็นพืชที่ต้องการน้ำและปุ๋ยน้อยกว่าอ้อย 60% ทำให้ปัจจุบันเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลเป็นจำนวนมาก
"เชื่อว่าข้าวฟ่างหวานจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สำคัญของไทย ในการนำมาผลิตเอทานอล เพื่อผสมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือดีโซฮอล์ ในอัตราส่วนผสม 10% จะช่วยให้ประเทศลดการสูญเสียเงินตราไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาทต่อปี และถ้าผสมในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นก็จะช่วยลดการสูญเสียเงินตราได้มากขึ้นและสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ในอนาคต" รศ.ดร.ประสิทธิ์ กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 13 มิถุนายน 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=109932
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น