หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน
กรมปศุสัตว์เตือนโรคฉี่หนู รีเทิร์นระบาดหนักหน้าฝน แนะหมั่นสังเกตุอาการสัตว์
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 51
กรมปศุสัตว์เตือนโรคฉี่หนู รีเทิร์นระบาดหนักหน้าฝน แนะหมั่นสังเกตุอาการสัตว์
นายศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ช่วงนี้มีฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการระบาดของโรคต่างๆ ในสัตว์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซีส (Leptospirosis) ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย "เลปโตสไปรา" เป็นเชื้อที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์พาหะ เช่น หนู สุนัข หมู วัว ควาย แพะ แกะและแมว ลักษณะของการติดต่อเกิดจากการที่สัตว์ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะที่มีเชื้อ การผสมพันธุ์และการสัมผัสกับเชื้อเลปโตสไปโรซีสโดยตรง นอกจากนี้ ยังพบการติดต่อจากแม่สู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ได้ สำหรับการติดเชื้อในคนนั้นเกิดจาการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์น้ำโรค หรือติดเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ ในดินผ่านผิวหนังที่มีแผลขีดข่วนหรือเข้าทางเยื่อบุจมูก ปากหรือตา
อาการที่พบส่วนใหญ่เมื่อสัตว์ได้รับเชื้อเลปโตสไปโรซีสแล้ว มักไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น แต่อาจพบแสดงอาการป่วยรุนแรงจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้จาก มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร มีจุดเลือดออกตามเยื่อเมือก สุดท้ายเกิดไตวาย ดีซ่านและตาย สัตว์ที่ตั้งท้องอาจแท้ง ส่วนในคนอาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อน่องและหลัง ตาแดงอักเสบ ดีซ่าน
ส่วนวิธีป้องกันและรักษาในสัตว์นั้น เกษตรกรควรกำจัดสัตว์นำโรค เช่น หนู อย่างต่อเนื่องในบริเวณฟาร์มหรือฝูงเลี้ยงสัตว์ รักษาสัตว์ที่ติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะ ปรับปรุงสุขาภิบาลในคอกสัตว์เลี้ยงและควบคุมการนำเข้าสัตว์ใหม่เข้าฝูง ส่วนในคนควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในแหล่งน้ำขัง ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 20 มิถุนายน 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=111536
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น