เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 51
“แตงโมบางเบิด” มีลักษณะผลใหญ่รูปทรงรี เปลือกหนา รสชาติหวาน กรอบ ลูกหนึ่งน้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม คือ ผลผลิตของฟาร์มบางเบิด กลายเป็นที่จดจำของคนใน สมัยนั้น สายพันธุ์เดิมชื่อ TOM WATSON นำมาจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ม.จ.สิทธิพรกฤดากร ยังได้ปลูก ข้าวโพด ข้าวฟ่างพันธุ์แคระ เลี้ยง ไก่ เล็กฮอร์น เลี้ยงสุกร พันธุ์ยอร์กเชียร์ ปลูกข้าว พันธุ์ปิ่นแก้ว ส่งไปประกวดที่ ประเทศแคนาดา ได้ รางวัลข้าวพันธุ์ดี อันดับหนึ่งของโลก
พระองค์ยังได้พัฒนาฟาร์มในหลายๆ ด้านทั้งการทำ เกษตรแผนใหม่ การทำ ไร่นาสวนผสม มี การใช้เครื่องไม้เครื่องมือทางเทคนิค เช่น ตะบันน้ำ (เครื่องมือชนิดหนึ่งที่มีหัวเป็นเหล็ก ซึ่งมีลูกกลิ้งอยู่ด้านใน ใช้แรงดันของลมกับน้ำเป็นแรงอัด ในการส่งน้ำผ่านระบบท่อไปทั่วฟาร์ม)
และการทดลองหา สูตรปุ๋ยที่เหมาะสมแก่ประเทศไทย จากนั้นพระองค์ ได้เผยแพร่ความรู้ให้แก่ชาวไร่ชาวนา โดยตีพิมพ์ลงหนังสือ “กสิกร” เมื่อเดือน เมษายน พ.ศ.2470 ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่”
กระทั่งในช่วงปลายสุดของชีวิต ม.จ.สิทธิพรกฤดากร ได้รับรางวัล แมกไซไซ สาขา พัฒนาการเกษตรแผนใหม่ ตรงกับปี พ.ศ.2510 มีเงินรางวัลถึง 2 แสนบาท แต่ก็ไม่ได้นำเงินจำนวนนั้นไปใช้จ่ายส่วนพระองค์ ทรงนำมาสร้างแปลงทดลองเพื่อเกษตรกรจนหมดสิ้น
ต่อมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ ถวายปริญญา ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขากสิกรรมและสัตวบาล ก่อนที่พระองค์... ถึงชีพิตักษัย ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2514 รวมพระชันษา 88 ปี และปัจจุบันเป็น ปีที่ 36 ในการจากไปของ “บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่”
ณ วันนี้ ฟาร์มบางเบิด...กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีชื่อว่า สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร สังกัดสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
...รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า พื้นที่ของสถานีวิจัยแห่งนี้ มก.ได้ขอจัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2532 มีพื้นที่ประมาณ 850 ไร่ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 เม.ย. พ.ศ.2543 ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์ ม.จ.สิทธิพรกฤดากร ขึ้น เพื่อระลึกคุณงามความดีของท่าน
และในวันที่ 22 มิถุนายนของทุกๆปี ข้าราชการและประชาชนชาวบางเบิด ได้พร้อมใจกันร่วมวาง พวงมาลาไว้อาลัย และแสดง มุทิตาจิต ในวันถึง ชีพิตักษัย ของ ม.จ.สิทธิพรกฤดากร โดยมี ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นองค์ประธาน
นายสุดประสงค์ สุวรรณเลิศ หัวหน้าสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร เผยด้วยว่า เพื่อเป็นการสืบสานปณิธานของพระองค์ท่านในด้านการเกษตร ทาง มก.ได้วาง ยุทธศาสตร์การวิจัย และ พัฒนาระบบเกษตรที่เหมาะสม กับสภาพพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ด้วยการปลูก “แตงโมบางเบิด” เพื่อเก็บรักษาพันธุ์ไว้ ปรับปรุงพันธุ์ ปาล์มน้ำมัน ลูกผสมเทเนอร่า ซึ่งเป็นการผสมจาก แม่พันธุ์ดูรา กับต้น พ่อพันธุ์ฟิสิเฟอร่า สร้างผลผลิตกล้ายาง พาราคุณภาพดีปีละ 150,000 ต้น มีการรับรองคุณภาพจาก กรมวิชาการเกษตร ออกจำหน่ายให้กับชาวสวนยาง การเพาะเลี้ยงปูม้า ก่อนนำไปปล่อยลงแหล่งธรรมชาติปีละ 5-10 ล้านตัว
สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากรแห่งนี้ นอกจากเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แล้ว ยังได้จัดอบรมความรู้ด้านการเกษตรต่างๆให้กับเกษตรกรและผู้สนใจก็สามารถกริ๊งกร๊างหา สุดประสงค์ สุวรรณเลิศ ได้ที่ 08-1868-2022 ในเวลาราชการ.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 25 มิถุนายน 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=94699