เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 51
โรงงานอุตสาหกรรม มักจะปล่อยน้ำเสียทิ้งลงสู่แหล่งธรรมชาติ ซึ่งสิ่งปฏิกูลเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนจะรุนแรงหรือบางเท่าไหร่ นั่นก็แล้วแต่ อุตสาหกรรมนมก็เช่นกัน น้ำจากโรงงานมักมีกลิ่นไม่สู้ดีนัก จึง ต้องมีการบำบัด ส่วนใหญ่ ก็จะใช้สารเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศในราคาสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นโดยใช่เหตุ
รศ.ดร.อรุณวรรณ หวังกอบเกียรติ อาจารย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ตั้งทีมวิจัยการแบคทีเรียมาบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตภัณฑ์นม ตามวิธีชีวภาพ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ จึงได้นำข้อมูลมาเล่าว่า น้ำเสียจากโรงนมมีสารอินทรีย์ละลายอยู่เป็นปริมาณมาก อีกทั้งยังพบโปรตีนในสภาพ คอลลอยด์ (ขุ่น) และตกตะกอนยาก เลยมีแนวคิดนำ แบคทีเรียแลคติก (Lactic Acid Bacteria, LAB) มาบำบัดน้ำเสียจากโรงนม เนื่องจากเป็นตัวแปรให้เกิดกรดแลคติกสามารถสร้างตะกอนโปรตีนในน้ำเสียโรงนม แทนการใช้สารเคมี ซึ่งวิธีการนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในขั้นตอนแรก (Primary treatment) เพื่อโยงเข้าสู่กระบวนการบำบัด ขั้นที่สอง (Secon-dary treatment)
จากเทคนิคขั้นตอน แรกด้วยการ คัดเลือกแบคทีเรียแลคติกชนิดที่ผลิตกรดได้สูงจากแหล่งต่างๆ นำมาหมักด้วยน้ำเสียจากโรงนม แล้วปล่อยให้เกิดการตกตะกอน จึงปรับค่า phเป็น 4.7...จะเกิดตะกอนโปรตีนกับน้ำใสที่แยกกันอย่างชัดเจน
“ขั้นตอนต่อมานั้นได้ศึกษาหาปริมาณหัวเชื้อที่เหมาะสม พร้อมเลือกระบบบำบัด โดย ASBR (Anaerobic Sequencing Batch Reac-tor) และศึกษาหาคุณภาพน้ำภายหลังการบำบัด
กระบวนการบำบัดน้ำเสีย primary treat-ment โดยใช้แบคทีเรียแลคติก มีข้อดีเพราะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถนำแบคทีเรียฯที่ผ่านขั้นตอนมาหมุนเวียนใช้ได้อีก...”
ระบบ ASBR คือ การไม่ใช้อากาศ และ ใช้ถังเดียว สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ ทำให้ประหยัดพลังงานและมีเทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากทั้งประสิทธิภาพในการ ตกตะกอนโปรตีนสูงถึง 90% สามารถลดภาระงาน การบำบัดขั้น Secondary treatment ได้ และน้ำหมักที่ตกตะกอน มีโปรตีน probiotic bacteria นำไปเป็น อาหารเสริมในการเลี้ยงสัตว์ได้อีกด้วย
ฉะนั้น การบำบัดโดยใช้แบคทีเรียแลคติกเป็นเทคโนโลยีไม่ยุ่งยาก ง่ายต่อการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชนหรือกลุ่มสหกรณ์โรงนม ตามวิถีแห่งเศรษฐกิจพอเพียง
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 21 กรกฎาคม 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=97704