งานวิจัยกรมวิชาการเกษตร ความฝันที่เป็นจริงของเกษตรกร
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 51
งานวิจัยกรมวิชาการเกษตร ความฝันที่เป็นจริงของเกษตรกร
ปัจจุบันแต่ละหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ด้วยงานวิจัยเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนา สำหรับงานด้านการเกษตรนั้นกรมวิชาการเกษตรถือได้ว่าเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีบทบาทมากพอสมควร
นายธีระชัย แสนแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าผลงานวิจัยและการพัฒนาด้านพันธุ์พืช เพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่มีคุณภาพดี ตลอดจนการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร และเทคโนโลยีการผลิตพืชให้ได้คุณภาพ ผลผลิตสูงและลดต้นทุนการผลิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการศึกษาวิจัยที่ได้ผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับนั้น จำเป็นต้องคำนึง ถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ ดังนั้น งานวิจัยทางการเกษตรในยุคปัจจุบันจึงต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ผลิต คือ เกษตรกร ทั้งในด้านของการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมไปถึงความต้องการของผู้บริโภคให้ได้ กระทรวงเกษตรฯ จึงมีเป้าหมายให้เกษตรกรได้รับการพัฒนาศักยภาพ ด้านการผลิตพืช สนองนโยบายรัฐบาล ไม่ว่าปลูกพืชให้ปลอดภัยจากสารตกค้าง ตลอดจนการปลูกพืชทดแทนพลังงาน เช่น อ้อย มัน สำปะหลัง ปาล์ม น้ำมัน และเพิ่มมูลค่ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
สำหรับผลงานที่ผ่านมาของ กรมวิชาการเกษตร นางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปีนี้มีผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นจำนวน 5 รางวัล ประกอบด้วย 1.รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประเภทงานวิจัยพื้นฐาน คือ งานวิจัยรูปแบบการผลิตไวรัสจากเซลล์เพาะเลี้ยง โดยสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช 2.รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประเภทงานวิจัยประยุกต์ คือ ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 3.รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประ เภทงานพัฒนางานวิจัย คือการ ทดสอบความชำนาญในการ วิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพปุ๋ย โดยสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร 4.รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประเภทงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์คิดค้น คือ การทดสอบประสิทธิภาพโรงเรือนปลูกผักแบบใช้สารละลาย โดยสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม และ 5.รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประเภทงานบริการวิชาการ คือการปรับปรุงประสิทธิภาพการออกใบรับรองปลอดศัตรูพืชโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
รางวัลชมเชย 5 รางวัล ประกอบด้วย 1.รางวัลชมเชย ประเภทงานวิจัยพื้นฐาน คือ การศึกษาปริมาณแป้งในน้ำอ้อย โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต ที่ 5 2.รางวัลชมเชย ประเภทงานวิจัยประยุกต์ คือ ขอนแก่น 3 พันธุ์ อ้อยที่เหมาะสมสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต ที่ 3 3.ราง วัลชมเชย ประเภทงานพัฒนางานวิจัย คือ การพัฒนาการผลิตมันสำปะ หลังแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมในจังหวัดร้อยเอ็ดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 4.รางวัลชมเชย ประเภทงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์คิดค้น คือ การวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรและโรงงานต้นแบบสำหรับผลิตไบโอดีเซลแบบแบทซ์โดยใช้กระบวนการเอสเทอร์ริฟิเคชั่น และทรานส์เอสเทอร์ริฟิเคชั่น โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 และ 5 รางวัลชมเชย ประเภทงานบริการวิชาการ คือการพัฒนาฐานข้อมูลการออกใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. 3 ฉบับ โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
งานวิจัยดังกล่าว อธิบดีกรมวิชาการเกษตรยืนยันว่า มีความพร้อมที่จะถ่ายทอดไปสู่เกษตรกรและกลุ่มเป้าหมาย โดยไม่มีลิขสิทธิ์ ใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้ผลงานวิจัยดังกล่าวเป็นสาธารณะ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์จริงได้อย่างเป็นรูปธรรม และสนองนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ที่ไม่ต้องการให้ผลงานวิจัย ที่มีคุณค่าเหล่านี้ถูกเก็บไว้ในลิ้นชักเพียง เท่านั้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 31 กรกฎาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=171894&NewsType=1&Template=1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น