เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 51
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง “กองทุนบำบัดและใช้ ประโยชน์จากขยะ” ในมูลนิธิชัยพัฒนาไว้ จำนวน 1 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการศึกษาวิจัย “การผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซขยะตามแนวพระราชดำริ Landfill Gas to Energy (Royal Speech Project)”
ผศ.บุญมา ป้านประดิษฐ์ อาจารย์จากศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้เล่าให้ ฟังว่า ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแนวทางการดำเนินงาน
โดย ส่วนแรก ให้ใช้แก๊สจากขยะให้หมดก่อน ต่อจากนั้นให้นำขยะไปร่อนแยกส่วนประกอบ ส่วนที่เหลือที่ยังสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ให้นำไปเผาเพื่อนำเอาพลังงานความร้อนไปใช้ประโยชน์ ส่วนเถ้าถ่าน ให้นำไปผสมกับวัสดุที่เหมาะสมอัดเป็นแท่ง อาจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างต่อไปได้
ส่วนที่สอง ขณะทำการร่อนแยกขยะในพื้นที่ส่วนแรก ก็ใช้ประโยชน์จากแก๊สควบคู่กันไปก่อน เมื่อแก๊สหมดจึงดำเนินการลักษณะเดียวกันกับที่ได้ดำเนินการในพื้นที่ส่วนแรก หากทำได้อย่างต่อเนื่องจัดเวลาให้เหมาะสม จะทำให้มีพื้นที่ฝังกลบหมุนเวียนตลอดไป
ต่อมาปี พ.ศ. 2531-2535 มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ร่วมกับบริษัทกลุ่ม 79 จำกัด ได้รับสัญญาว่าจ้างจาก กรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินการ กำจัดขยะฝังกลบอย่างถูกวิธี (Sanitary Landfill) บนพื้นที่ 170 ไร่ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
“การดำเนินงานมีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยปรับปรุงสภาพภูมิประเทศให้สวยงามไม่เป็นที่รังเกียจของชุมชน ด้วยการขุดหลุมดิ่งจำนวน 40 หลุม เสร็จแล้วทำการ ดูดน้ำให้แห้งเพื่อที่ดึงแก๊สจากบ่อ ซึ่งได้เพียง 180 คิวเท่านั้นจากที่ตั้งเป้าไว้ 500 คิว เลยเปลี่ยนวิธีเป็น ขุดหลุมนอน”
แล้วนำก๊าซที่ได้มาผลิตกระแสไฟฟ้า โดยทีมงานฯทำการเก็บข้อมูลปริมาณคุณภาพก๊าซจากหลุมขยะ ตลอดจนชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดก๊าซ เพื่อกำจัดสาร ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SILOXANES) และความชื้นในก๊าซเพื่อให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ที่จะป้อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้เครื่องยนต์เทคนิคในการดูแลบำรุงรักษาระบบ ผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
ทีมงานฯจึงเกิดความมั่นใจว่า ก๊าซจากขยะตามโครงการตามแนวพระราชดำริ สามารถใช้ประโยชน์ เป็น พลังงานทดแทนใช้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างเด่นชัดและเป็นรูปธรรม
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 25 สิงหาคม 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=101801