ปลาคิลลี่จากแอฟริกาในไทยเลี้ยงได้
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 51
ปลาคิลลี่จากแอฟริกาในไทยเลี้ยงได้
ปลาคิลลี่เป็นสัตว์น้ำจืดขนาดเล็ก ถิ่นกำเนิดแถบทวีปแอฟริกาและประเทศในเขตร้อนชื้น อาทิ แทนซาเนีย กาบอง และอูกานดา เป็นปลาที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สามารถอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง 37-43 C
๐ ได้ในประเทศไทยก็มีทั่วทุกภาค แต่ไม่นิยม นำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เพราะสีสันไม่ค่อยสวยเหมือนกับในต่างประเทศ ในไทยนิยมเรียกว่าปลาหัวตะกั่ว
การเลี้ยงปลาคิลลี่ประกอบด้วยปัจจัยหลัก ๆ 3 ประการ 1.ที่เลี้ยง 2.สภาพน้ำ และ 3.อาหาร หากเลี้ยงในตู้ปลา ปลาคิลลี่ขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว ควรใช้ตู้ปลาขนาด 12x8x8 นิ้ว แต่ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ ควรใช้ตู้ขนาด 24x12x12 ควรเลี้ยงเป็นคู่ หรือตัวผู้ 1 ตัวต่อตัวเมีย 2 ตัว
การตกแต่งตู้ปลาควรใช้พันธุ์ไม้น้ำ จำพวก บอนน้ำ บอนแดง ใบพาย หรือเฟิร์นน้ำ จำพวกรากดำใบยาว และชวามอส เพราะเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ต้องการแสงสว่าง น้อย ซึ่งจะสอดคล้องกับปลาคิลลี่ที่ชอบอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างน้อย
ปลาคิลลี่กระโดดเก่งฉะนั้นควรมีฝาปิดตู้ปลาเพื่อป้องกันปลากระโดด สามารถกินอาหารที่มีชีวิตและอาหารสำเร็จรูปได้ แต่โดยทั่วไปจะชอบอาหารธรรมชาติหรืออาหารสดแช่แข็ง และไม่ควรให้ชนิดเดียวแบบซ้ำซาก ควรให้หลายอย่างสลับสับเปลี่ยนกันไป
โรคปลาคิลลี่ส่วนใหญ่มาจากอาหารสด ที่มีการปนเปื้อน หรือการสะสมของเชื้อโรคที่เกิดจากตู้ปลา ที่ดูแลไม่ดี ควรใช้เกลือเม็ดผสมน้ำทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำจากตู้ปลาและไม่ควรถ่ายน้ำเกินกว่า 30% ของปริมาตรน้ำในตู้ปลารวมทั้งหมด จะสามารถช่วยป้องกันโรคได้เป็นอย่างดี โรคทั่วไปที่พบ ได้แก่ โรคสนิม โรคท้องบวม ซึ่งสามารถใช้ยาทั่ว ๆ ไป นำมาใช้รักษาให้หายได้ ตามอัตราส่วนที่เหมาะสมของยาแต่ละชนิด
ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากขึ้น ที่กรมประมงก็มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง จนประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์เพื่อส่งเสริมให้มีการเลี้ยงกันโดยทั่วไป เนื่องจากสามารถนำมาเพาะขยายพันธุ์ให้ได้ปลาที่มีสีสันสดใสมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันในบางสายพันธุ์ของปลาชนิดนี้ค่อนข้างจะมีอายุสั้น ฉะนั้นการเพาะขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนจะเป็นการทดแทนความต้องการของตลาดได้ดีอีกด้วย
ในตลาดปลาสวยงามทั่วไปในตอนนี้เริ่มมีการนำมาจำหน่ายมากขึ้น และในบางครั้งก็มีการจัดประกวดในประเภทปลาสวยงามรางวัลงาม ๆ กันด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ที่นำมาประกวดประชันขันแข่งกันนั้นจะอยู่ที่เรื่องของความสวยงามด้านสีสันและรูปร่างทรวดทรงของปลาเป็นประการสำคัญ
ในอนาคตคาดกันว่าปลาชนิดนี้จะเริ่มเป็นที่รู้จักและมีการนำมาเพาะขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายไปเลี้ยงเพิ่มสีสันและความสวยงามให้กับพื้นที่ภายในบ้านกันมากขึ้นอย่างค่อนข้างแน่นอน ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เป็นปลาสวยงามที่ตลาดเริ่มต้องการมากขึ้นนั่นเอง.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 18 มกราคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=151845&NewsType=1&Template=1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น