เมื่อวันที่ 15 กันยายน 51
ใบบัวบก ผักแว่น หรือ ผักหนอก Asiatic Pennyworl. Tiger Herbal
Centella asiaticb (L.inn.) พืชล้มลุกที่เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะ ใบเดี่ยว 3-5 ใบ เรียงสลับ รูปไตมีกลีบดอกสีม่วงและผลแห้งแตกออกได้อันเป็นผักพื้นบ้านของไทย
คนโบราณรู้ในสรรพคุณทางยา ซึ่งจะใช้ใบสดตำละเอียดแล้วนำไปพอกบริเวณที่เป็นแผลเปื�อยในช่องปาก แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ช่วยในการสมานแผลสามารถทำให้แผลที่เกิดลายนูนลดน้อยลง
จากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่ามี สารออกฤทธิ์ คือ กรด Madecassic ยังมีกรด Aslatic และ Aslaticoslde ซึ่งสามารถ เร่งเนื้อเยื่อ และ ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของการ เกิดหนอง และ ลดการอักเสบ รวมทั้งยังมีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อรา ได้อีกด้วย
รศ.ภก.ดร.เอกรินทร์ สายฟ้า ผู้อำนวยการแผนงานวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ รศ.ภญ.ดร.มยุรี ตันติสิระ และคณาจารย์อีก 17 ท่าน จึงร่วมกันจัดทำ “โครงการศึกษาฤทธิ์และความเป็นพิษของสารสกัดมาตรฐานบัวบก” เพื่อวิจัยข้อมูลต่างๆของบัวบกหาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารสำคัญ
รศ.ภญ.ดร.มยุรี ตันติสิระ เผยว่า หลังจากนั้นนำวัตถุดิบบัวบกที่ได้มาคัดคุณภาพเข้าสู่กรรมวิธีการสกัดสารสำคัญ ตั้งแต่ เลือกสายพันธุ์บัวบก แหล่งที่ปลูก และนำผลผลิตตั้งแต่ รากไปถึงก้านใบที่ออกตามฤดูกาล ทดลองตรวจหาสารออกฤทธิ์รวมไปถึงการตรวจสภาพปริมาณแสง สภาพดิน และปริมาณน้ำอีกด้วย....
โดยเบื้องต้น ได้นำ บัวบกสดจำนวน 1,000 กิโลกรัม ทำให้แห้งจะเหลือ 200 กิโลกรัมและ นำไปหั่นละเอียด และสกัดออกมาเป็นผงสีขาว เป็นสารออกฤทธิ์ในอัตราประมาณ 2 กิโลกรัม ก่อนจะนำไปตรวจทางเคมีเบื้องต้น Sap0nin Test, Liebermann-Burchard Test และ Tannin Test เป็นการตรวจดูฟอง สังเกตสาร ละลายแยกชั้น และการดูตะกอนที่เกิดขึ้น
เมื่อทราบผลแล้วก็นำไปทดสอบกับสัตว์ ทดลอง โดยใช้หนูที่ถูกทำให้เป็นแผล ปรากฏว่าสารดังกล่าวมี ฤทธิ์เร่งการสมานแผล ทั้งในบาดแผลกรีดด้วยของมีคมและแผลไฟไหม้ เมื่อนำไปทดลองแก้ไขสภาวะการบกพร่องของ การเรียนรู้ และ ทางความจำ อย่างชัดเจนในสัตว์ทดลอง ในปริมาณรวมกันไม่ต่ำกว่า 80% จากการทดสอบด้วยการป้อนสารสกัดในขนาดสูงติดต่อกัน 90 วัน ปรากฏว่าไม่มีหนูทดลองตาย อีกทั้งยังมีการเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ และเมื่อผ่าตัดดูเนื้อเยื่อก็ไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่ามีความปลอดภัยในระดับสูง
ผลงานวิจัยนี้เสร็จสิ้นเมื่อปลายปี 2550 โดยสรุปว่าสารสกัดสีขาวนี้มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าสารสกัดทั่วไปหลายๆด้าน จึงได้ร่วมกับ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาจุฬาลงกรณ์ฯ ยื่นจดสิทธิบัตร กระบวนการเตรียมสารสกัดและตั้งชื่อสารสกัดมาตรฐานบัวบกว่า ECa233 และให้ บริษัทสยามเฮอร์บอล อินโนเวชั่น จำกัด นำเทคโนโลยีไปต่อยอดผลิตในเชิงอุตสาหกรรมในอนาคต.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 15 กันยายน 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=104175