คลอด 4 ยุทธศาสตร์พัฒนา GMOs กรมวิชาการฯยันเดินหน้าสนับสนุนวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 51
คลอด 4 ยุทธศาสตร์พัฒนา GMOs กรมวิชาการฯยันเดินหน้าสนับสนุนวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร
นายอลงกรณ์ กรณ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร มีนโยบายสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ขยายพันธุ์ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาบุคลากรของกรมวิชาการเกษตร รองรับทั้งในด้านการวิจัยพัฒนา และการเพิ่มศักยภาพในการสื่อสาร เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัย ภัยทางชีวภาพที่ถูกต้องให้สาธารณชนและประชาชนได้รับทราบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีพันธุ์วิศวกรรม พืชดัดแปลงพันธุกรรม(GMOs)
ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีพันธุ์วิศวกรรม ซึ่งเป็นเทคโนโลยรชีวภาพแขนงหนึ่ง ที่มีศักยภาพสูงในการปรับปรุงพัฒนาพันธุ์พืชให้มีผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น หรือให้พืชสามารถผลิตสารชีวภัณฑ์ที่ต้องการ แม้ว่าในปัจจุบันหลายประเทศอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากพืชGMOsเป็นการค้าแล้วก็ตาม แต่สาธารณชนส่วนหนึ่งยังมีความกังวลในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เนื่องจากยังขาดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับพืช GMOs กรมวิชาการเกษตร จึงเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องบนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริงทางวิทยาศาสตร์และเกิดความมั่นใจในกระบวนการกำกับดูแลและประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพของพืชGMOs
สำหรับสถานการณ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น ขณะนี้มีประเทศที่อนุญาตให้ปลูกพืช GMOs แล้ว 23 ประเทศทั่วโลด มีพื้นที่ปลูกกว่า 114 ล้านเฮกเตอร์ มีมูลค่ากว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนในประเทศไทยนั้น แม้ยังไม่ยินยอมให้นำเมล็ดพันธุ์ GMOs มาปลูกเพื่อการพาณิชย์ ก็ตาม แต่ก็ได้กำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ประกอบด้วย
1.ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และบริการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร ช่วยให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก มีความมั่นคงทางด้านอาหารและส่งเสริมระบบเศรษฐกิจพอเพียง 2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากร หน่วยงาน ห้องปฏิบัติการและกฎหมายด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการเกษตร 3.ยุทธศาสตร์การเพิ่มโอกาส และศักยภาพในการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ปรับปรุงปัจจัยการผลิต และบริหารจัดการศัตรูพืช โรคสัตว์ และ4.ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้มีการผลิตวัตถุ และให้มีการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 23 กันยายน 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=124478
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น