มุมมองญี่ปุ่นต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรในประเทศไทย
เมื่อวันที่ 26 กันยายน 51
มุมมองญี่ปุ่นต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรในประเทศไทย
ยูมิ ยามาชิตะ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไจก้า ประเทศญี่ปุ่น เดินทางมาปฏิบัติงานในประเทศไทย เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา ในโครงการพัฒนาผู้นำกลุ่มอาชีพในสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการความ ร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมสหกรณ์ กับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ประจำประเทศไทย โครงการพัฒนาผู้นำกลุ่มอาชีพในสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้นำกลุ่มอาชีพได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างมีชีวิตชีวาของท้องถิ่น
“การพัฒนาผลิตภัณฑ์” เป็นหนึ่งในหกหัวข้อที่ผู้เชี่ยวชาญได้ปฏิบัติงานในประเทศไทย โดยเน้น 3 เรื่องสำคัญตาม R/D คือ “การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์”, “การพัฒนาบรรจุภัณฑ์” และ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่” เป็นหลัก มีการเสนอตัวอย่างของประเทศญี่ปุ่นในงานสัมมนา และให้คำแนะนำเมื่อไปเยี่ยมกลุ่มอาชีพนับตั้งแต่ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดลำปาง ซึ่งมีการสัมมนาเพื่อปรับปรุงและนำการแนะนำอย่างเป็นรูปธรรมมาส่งเสริมให้เกิดการนำความรู้ที่ได้จากการสัมมนาไปปฏิบัติจริงในโอกาสต่อไป
“การควบคุมผลิต ภัณฑ์” หมายถึง การกำหนดมาตรฐานคุณภาพ และผลิตสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานนั้น ๆ โดยมีการควบคุมที่เหมาะสม ซึ่งไม่เพียงการตรวจสอบสินค้า ที่ผลิตขึ้นมาแล้ว แต่ยังรวมไปถึงการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดสินค้าด้อยมาตรฐานในแต่ละขบวนการแปรรูป และรวมถึงการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ให้หมดไป
บรรจุภัณฑ์ หมายถึง ส่วนที่ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์เพื่อเก็บรักษา และความสะอาด นอกจากนั้นยังมีหน้าที่เป็นตัวแสดงข้อมูลต่าง ๆ สู่ผู้บริโภค บางบรรจุภัณฑ์ทำได้พอเหมาะพอดีกับสินค้าก็จะ ทำให้เกิดคุณค่าของสินค้าสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง ทำให้ผู้บริโภคประทับใจ จะอธิบายเรื่องฉลากสินค้าโดยแยกเป็นการแสดงรายละเอียดสินค้ากับการออกแบบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในที่นี้หมายถึง การคิดให้กระจ่างว่าต้องการผลิตอะไร โดยใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง มีความมุ่งหวังในอนาคต แล้วทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ความเป็นตัวเองที่มีอยู่โดยไม่เลียนแบบใคร
ยูมิ ยามาชิตะ บอกว่า กิจกรรมที่ได้เข้าร่วมเป็นหลักที่ญี่ปุ่นก็คือ กลุ่มสตรี กลุ่มสตรีสหกรณ์เป็นองค์กรหนึ่งในสหกรณ์ ในองค์กรนี้มีกลุ่มที่อยู่ในสถานะเดียวกับกลุ่มอาชีพของไทย และกลุ่มก็สามารถหารายได้เสริมให้กับสมาชิกได้เป็นจำนวนมากจากการทำงานร่วมกับสหกรณ์ กลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ และตัวผู้เชี่ยวชาญเองก็ได้เติบโตขึ้น ในปัจจุบันเงินช่วยเหลือสำหรับการจัดตั้งกลุ่มนั้นแทบจะไม่มีเลย กลุ่มของผู้เชี่ยวชาญตั้งขึ้นมาด้วยการลงทุนร่วมกันเพื่อเริ่มจัดสถานที่แปรรูป แม้จะไม่มีเงินช่วยเหลือจากสหกรณ์ แต่ก็มีสถานที่ว่างที่เกิดจากการควบรวมสหกรณ์ให้ยืมใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มีผู้ช่วยเหลือในการจัดสถานที่ให้สะอาดเรียบร้อย มีความรู้เพื่อขอใบอนุญาตประกอบการเกี่ยวกับอาหาร มีสถานที่สำหรับวางของขาย มีข้อมูลงานออกร้านต่าง ๆ มีการช่วยเหลือในการจัดซื้อวัตถุดิบในท้องถิ่น เหล่านี้เป็นความช่วยเหลือจากสหกรณ์ที่ทำให้กลุ่มเติบโตมาได้จนทุกวันนี้ กลุ่มมียอดขายเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี จากประสบการณ์ดังกล่าวพบว่า กลุ่มอาชีพกับสหกรณ์ สหกรณ์กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ หากมีการเชื่อมต่อที่ดี ก็น่าจะสามารถส่งสินค้า OTOP ไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้นได้
อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องการอยู่ได้ด้วยตนเองของกลุ่มอาชีพในประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล สหกรณ์ และท้องถิ่น เป็นจำนวนมาก จึงดำเนินการอยู่ได้ถึงอย่างนั้นกลุ่มส่วนใหญ่ก็ยังบอกว่าเงินทุนไม่เพียงพอ ซึ่งต้องยอมรับว่าองค์กรจะไม่สามารถพึ่งพาเงินช่วยเหลือได้ตลอดไป และการทำให้งานของกลุ่มกลายเป็นอาชีพเสริมได้อย่างมั่นคงนั้น จะต้องมีเป้าหมายที่แน่นอน มีจุดหมายที่มั่นคง และมีเป้าหมายว่าแต่ละปีอยากจะมีกำไรให้ได้เท่าไร
ข้อมูลเหล่านี้นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่น่าจะมองข้าม เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่สามารถนำมาเป็นแนวทางเพื่อการพัฒนาให้ขบวนการสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ทั่วทั้งประเทศสามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาขบวนการสหกรณ์ด้าน การผลิตที่มีความสมบูรณ์ตรงตามความต้องการของตลาดอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
ปิดท้าย ยูมิ ยามาชิตะ ได้ให้คำจำกัดความว่า สหกรณ์นั้น หมายถึง การทำงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย โดยความร่วมมือของทุกคน ดังคำกล่าวที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ Each for ALL ALL for each แต่ละคนทำเพื่อทุกคน ทุกคนทำเพื่อแต่ละคน ในชุมชนเองก็ต้องมีหลักการนี้เช่นกัน หากทุกคนสามารถตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน ช่วยกันกำหนดแผนงาน กำหนดเวลาในการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม ก็จะทำให้กลุ่มมีความเชื่อมั่นในความเป็นไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 26 กันยายน 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=177861&NewsType=1&Template=1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น