หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน
กรมวิชาการฯพัฒนาสำเร็จ ฝ้ายเส้นใยสีเขียวธรรมชาติ อ่อนนุ่ม-อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 51
กรมวิชาการฯพัฒนาสำเร็จ ฝ้ายเส้นใยสีเขียวธรรมชาติ อ่อนนุ่ม-อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท กรมวิชาการเกษตร เผยว่า ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ประสบผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีเขียว ซึ่งเป็นฝ้ายคุณภาพดีสีธรรมชาติประเภทเส้นใยยาว ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประเมินผล เพื่อขอรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่ง
นางปริญญา สีบุญเรือง นักวิชาการเกษตร 8ว. ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ เผยว่าได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีธรรมชาติมาตั้งแต่ปี 2543 โดยได้ทำการวิจัยพันธุ์ฝ้ายดังกล่าว 2 สีด้วยกันคือ สีเขียวและสีน้ำตาล แต่ที่ประสบผลสำเร็จได้สายพันธุ์ที่นิ่งแล้วเป็นพันธุ์ฝ้ายสีเขียว
สำหรับข้อดีของฝ้ายเส้นใยสีเขียวดังกล่าว เมื่อนำมาทอเป็นผ้าฝ้ายแล้วสีจะสวยงามตามธรรมชาติ และเมื่อนำไปซักแล้วตากในที่ร่มสีเขียวจะเข้มขึ้น ต่างจากฝ้ายที่ย้อมสีเมื่อซักแล้วสีจะตกไม่สวยงาม นอกจากนี้ผ้าฝ้ายสีเขียวจะมีความนิ่ม สวมใส่แล้วรู้สึกสบาย หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆก็สวยงาม รวมทั้งยังเป็นฝ้ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีสารฟอกย้อม สามารถลดมลภาวะทางน้ำจากสารฟอกย้อมได้
อย่างไรก็ตาม แม้พันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีเขียวดังกล่าวจะมีความต้านทานต่อโรคใบหงิก แต่จะไม่ต้านทานต่อหนอนเจาะสมอฝ้าย เกษตรกรจำเป็นต้องดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด จึงไม่เหมาะสมที่จะปลูกในแปลงขนาดใหญ่ แต่เหมาะสำหรับปลูกในแปลงขนาดเล็กไม่เกิน 1 ไร่ เพื่อนำมาใช้ในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า โดยได้ตั้งราคาขายกิโลกรัมละ 50 บาท หรือถ้าทอเป็นผ้าจะขายราคาเมตรละ 800 บาท และต้องขายในตลาดบน เนื่องจากมีราคาแพงกว่าฝ้ายทั่วไป
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 15 ตุลาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=128209
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น