การฉายรังสีพืชผลการเกษตร อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เกษตรกรไทยต้องรู้
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 51
การฉายรังสีพืชผลการเกษตร อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เกษตรกรไทยต้องรู้
การฉายรังสี เป็นเทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยให้อาหารปลอดภัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจำนวนมากเห็นพ้องต้องกันว่า การฉายรังสีจะสามารถกำจัดอันตรายอันเกิดจากอาหารเป็นพิษได้ และทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าอาหารที่เราซื้อนั้นจะปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ โดยทั่วไปการฉายรังสีจะสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล แคมไพโลแบคเตอร์ และซาโมเนลลา ซึ่งเชื้อต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นทำให้เกิดการเจ็บป่วยในมนุษย์ เป็นอีกก้าวหนึ่งที่เกษตรกรไทยต้องใสใจ
การฉายรังสีอาหารมีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905 องค์การอนามัยโลกได้รับรองความปลอดภัยของอาหารฉายรังสีจำนวนมาก ประมาณ 37 ประเทศที่ยอมรับอาหารฉายรังสี ซึ่งมีมากกว่า 40 ชนิด สมาคมแพทย์สหรัฐอเมริกา หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ก็รับรองกระบวนการดังกล่าว
ผู้บริโภคหลายคนคิดว่าอาหารที่ฉายรังสีแล้วจะทำให้เกิดกัมมันความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น การฉายรังสีอาหารเป็นกระบวนการที่อาหารผ่านสนามพลังงานที่มีรังสีแกมม่า และพลังงานรังสีแกมม่าจะคล้ายกับรังสีอัลตราไวโอเลต หรือไมโครเวฟ แต่จะมีคลื่นที่สั้นกว่า และมีพลังงานมากกว่า รังสีแกมม่าจะปล่อยพลังงานเข้าไปในอาหารในลักษณะที่คล้ายกับคลื่นไมโครเวฟ และอาหารก็จะไม่ถูกทำให้เป็นสารกัมมัน ขณะเดียวกันก็ไม่มีรังสีตกค้างที่ทำให้เกิดโรค
ดังนั้น อาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะเป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ข้อดีของการฉายรังสีก็คือ ใช้ได้ทั้งอาหารที่เป็นของแข็งและของเหลว ปริมาณรังสีที่ใช้จะมีผลแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การใช้รังสีปริมาณที่ต่ำ โดยปกติจะใช้สำหรับขยายระยะเวลาการเก็บอาหารให้นานขึ้น ช่วยชะลอการสุกของผลไม้ ส่วนปริมาณรังสีที่สูง จะใช้ในการกำจัดปริมาณแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ผ่านการฉายรังสี จะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงนับว่าปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้รังสีในการส่งเสริมการเกษตร โดยร่วมมือกับสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการใช้รังสีเพื่อกำจัดแมลงและไล่ศัตรูพืชในพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกในเมล็ดพืช ธัญพืช เช่น มะม่วง มะขามหวาน กระเจี๊ยบเขียว กล้วยไม้ และการใช้รังสีเพื่อถนอมอาหาร ยืดอายุการเก็บรักษา ควบคุมการงอก ชะลอการสุก กำจัดเชื้อโรคและพยาธิ เช่น แหนม มันฝรั่ง พริกแห้ง พริกไทย การทำหมันแมลงผลไม้ เป็นต้น และเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ เกิดผลเป็นรูปธรรมต่องานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้จัดตั้งสถาบันรังสีเพื่อการส่งเสริมการเกษตรขึ้น โดยให้เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร แบ่งการบริหารเป็นฝ่ายอำนวยการ กลุ่มงานรังสีเพื่อการควบคุมศัตรูพืช กลุ่มงานรังสีเพื่อการพัฒนาคุณภาพผลผลิตการเกษตร กลุ่มงานรังสีเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์ และศูนย์ปฏิบัติการรังสีเพื่อการส่งเสริมการเกษตร
นางวัชรีพร โอฬารกนก ผู้อำนวยการสถาบันรังสีเพื่อการส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึง ภารกิจของสถาบันรังสีฯ ว่า เพื่อศึกษาวิเคราะห์ พัฒนา ส่งเสริมวิทยาการและกระบวนการใช้รังสี รวมทั้ง วิทยากรที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตร, จัดทำแผนส่งเสริมการผลิต ขยายการใช้ประโยชน์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้รังสีแก่เกษตรกร ภาครัฐและเอกชน ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำกับการปฏิบัติงานด้านรังสีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยกิจกรรมแรกหลังการจัดตั้งสถาบันรังสีฯ กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการเจรจา ในโครงการความร่วมมือด้านรังสีเพื่อการเกษตร กับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศแห่งองค์การสหประชาชาติ (FAO / IAEA)
ทั้งนี้โดยเน้นการใช้แมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันจากการฉายรังสี สามารถผลิตขยายและทำหมันแมลงวันผลไม้ด้วยการฉายรังสี จำนวนไม่ต่ำกว่า 30 ล้านตัว/สัปดาห์ โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินการนำร่อง 20,000 ไร่ มีเป้าหมายลดการระบาดทำลายของแมลงวันผลไม้จึงถึงระดับต่ำกว่า 5% ลดการใช้สารเคมีไม่ต่ำกว่า 50% ในระยะเวลา 3 ปี และคาดว่าจะสามารถปกป้องความเสียหายของผลผลิตจากการทำลายของแมลงวันผลไม้ได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีแผนการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการผลิต ขยายแมลงวันผลไม้ระดับ 300 ล้านตัว/สัปดาห์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเป็นผู้ออกแบบและแนะนำในการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายการปฏิบัติในปีต่อไป
นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สนท.)มีโครงการวิจัยและพัฒนา การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยบูรณาการ เทคนิคทางรังสีร่วมกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเทคนิค ดีเอ็นเอ ข้าว สบู่ดำ กระเจี๊ยบเขียว และบัว และยังมีโครงการย่อย เช่นการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยการฉายรังสีแกมมา และนิวตรอนเร็วร่วมกับการเพาะเลี้ยง อับละอองเกสร จะได้สายพันธุ์ข้าวหอม ที่มีผลผลิตสูงคุณภาพเมล็ดดี ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว ได้แก่โรคไหม้ และเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาล ทำให้ลดการใช้สาร เคมี ลดต้นทุนการผลิตข้าวหรือสามารถ นำไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต่อไป และทดลองการพัฒนาพันธ์พืชผลทางการเกษตรที่มีศักยภาพอื่นอีกว่า60 ชนิด จึงเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่เกษตรกรควรจะติดตามเทคโนโลยีทางด้านนี้ ที่มีความสำคัญในอนาคตอย่างแน่นอน ทั้งทางด้านการตลาดและการผลิต การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพเพื่อการส่งออกอีกด้วย
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 30 ตุลาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=130680
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น