เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 51
กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธาตุโพแทสเซียมที่ไทยนำเข้าเพื่อนำมาผลิตเป็นปุ๋ยเคมีปีละไม่น้อยกว่า 5 แสนตัน จากเดิมที่มีราคาเพียง 200-300 ตัน ปรับเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 1,000 ต่อต่อตัน จนส่งผลกระทบต่อราคาปุ๋ยภายในประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว กรมวิชาการเกษตร ได้เสนอให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเหมืองแร่โพแทสเซียมในไทย โดยเห็นว่าไทยมีศักยภาพในการผลิตโพแทสเซียม โดยมีแหล่งแร่ที่สำคัญอยู่ในพื้นที่ จ.อุดรธานี และชัยภูมิ หากแต่ติดปัญหาด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการเหมืองแร่โพแทสเซียมได้
"ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีในประเทศไทย รูปแบบเดียวกับเหมืองแร่โพแทสเซียมที่เยอรมัน ที่มีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี"
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาการจัดทำเหมืองแร่โพแทสเซียมในไทยมักจะถูกต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ ซึ่งหากไทยศึกษาแนวทางการจัดทำเหมืองแร่โพแทสเซียม โดยสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี น่าจะได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้นและจะเกิดผลดีในหลายด้าน โดยเฉพาะภาคการเกษตร ที่ปัจจุบันเกิดปัญหาราคาปุ๋ยเคมีปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 31 ตุลาคม 2551
http://www.komchadluek.net/2008/10/31/x_agi_b001_228660.php?news_id=228660