เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 51
ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง เผยว่า คณะเจ้าหน้าที่กรมประมง ได้เดินทางไปยังประเทศแคนาดา เพื่อประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน Canadian Food Inspection Agency (CFIA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลการนำเข้าสินค้าอาหารตามความตกลงหรือ MRA (Mutual Recognition Agreement) ด้านตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำระหว่างกรมประมงและ CFIA ซึ่งได้จัดทำความตกลงดังกล่าวร่วมกันตั้งแต่ ปี 2540 ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมร่วมกันทุก 2 ปี โดยการประชุมครั้งนี้ ทางหน่วยงาน CFIA ของ แคนาดาแจ้งว่า จะลดอัตราการตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำที่นำเข้าจากทุกประเทศเหลือเพียงร้อยละ 5 เท่ากัน โดยมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา
“โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำของไทยที่อยู่ในระดับดี ซึ่งมีรายชื่ออยู่ภายใต้ความตกลงดังกล่าวแล้ว แม้จะไม่ได้รับสิทธิพิเศษลดการตรวจสอบการนำเข้าเช่นเดิม แต่จะได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องนำส่งเอกสารเกี่ยวกับกระบวนการผลิต ให้กับผู้นำเข้าแคนาดาตามข้อกำหนดของ CFIA อีกต่อไป เนื่อง จากได้รับการตรวจสอบและกำกับดูแลโดยกรมประมงแล้ว หน่วยงานที่ดูแลการนำเข้าสินค้าอาหารของแคนาดา ให้การยอมรับมาตรฐานการตรวจรับรองสินค้าสัตว์น้ำของกรมและเชื่อมั่น โดยเสนอว่าจะแนะนำให้ผู้นำเข้าซื้อสินค้าจากโรงงานแปรรูปสัตว์ น้ำของไทยที่อยู่ภายใต้ความตกลงเป็นลำดับแรก” ดร.จิราวรรณ กล่าว
รองอธิบดีกรมประมง เผยอีกว่า CFIA ยังได้แจ้งเตือนว่าตั้งแต่เดือน พ.ย.51 จะเริ่มสุ่มตรวจสารเคมีและสารปฏิชีวนะต้องห้ามในผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำนำเข้าเพิ่มเติม จากรายการเดิมที่เคยตรวจวิเคราะห์อยู่อีก 3 ชนิด ได้แก่ Fluoroquinolones, Erythromycin และ Gentian Violet ทั้งนี้ ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์น้ำควรเพิ่มความระมัด ระวัง ด้านการใช้สารเคมีรวมไปถึงการตกค้างหรือปนเปื้อนของสารต้องห้ามเหล่านี้ใน ผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำที่จะส่งออกไปยังแคนาดาด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า และทำให้อุตสาหกรรมสัตว์น้ำของไทยก้าวไกลและยั่งยืน.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=112081