เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 51
Evaporative Cooling System (ระบบทำความเย็นแบบ “ระเหย”)...ซึ่งนำมาใช้กับฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่เพื่อยกระดับ “เข้าสู่มาตรฐาน มีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” และ “ป้องกันไม่ให้ เกิดโรคระบาด” อันเป็นที่นิยมกันในสังคมปศุสัตว์นั้น
แต่...ต่อมาก็พบว่าระบบ Evaporative Cooling System ยังมีข้อบกพร่องกับ สภาพอากาศทั่วโรงเลี้ยงไม่สม่ำเสมอ
ฉะนี้ อาจารย์สรยุทธ วินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงคิดค้นเทคนิควิธีแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ด้วยการนำทฤษฎี “หน้าต่างรถเมล์” มาประยุกต์ใช้ โดยนำไปวิจัยและทดลองกับบริษัท ศรีวิโรจน์ ฟาร์ม จำกัด...จนได้ผลเป็นที่พอใจจึงได้นำมาเผยแพร่
ทฤษฎีหน้าต่างรถเมล์ ก็คือการกระจายลม เพิ่มตำแหน่งของ Cooling Pad ตาม ความยาวของโรงเรือน และติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมลมผ่านเครื่องดังกล่าว เป็นการระบายอากาศด้วยระบบ Fuzzy logic Control ซึ่งจะช่วยทำให้อุณหภูมิ ความชื้น มีความเหมาะสมตลอดโรงเรือน...
อาจารย์สรยุทธ เล่าให้ฟังว่า จากการสังเกตระบบทำความเย็นเพื่อใช้ ควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนแบบเก่านั้น พบว่า ลมที่ผ่านเข้ามาในโรงเรือน กว่าจะถึงท้ายเล้ามีการสะสมของเสียมามากมาย ทั้ง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย กลิ่นเหม็น และ ความร้อน
ฉะนี้จึง เพิ่มช่องทางเข้าของลมบริเวณด้านข้างโรงเรือน เพื่อ ให้อากาศใหม่ๆ เข้าไปสม่ำเสมอ หรือใกล้เคียงกัน ตลอดทั้งโรงเรือน วิธีนี้ เหมือนกับลมที่เข้าทางหน้าต่างรถเมล์มาประยุกต์ใช้ และจากการเก็บข้อมูลได้ผลว่า อุณหภูมิภายในโรงเรือนทั้งด้านหน้า และ ท้ายเล้า ลดลงจากเดิม 2-3 องศาเซลเซียส ปริมาณการแอมโมเนียอยู่ระหว่าง 0-2 ppm จากเดิม (ระบบเก่า) มีปริมาณ 10 ppm ส่วนออกซิเจนภายในเล้า วัดได้ 20.05-20.07 ppm
จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นผลให้น้ำหนักไข่เฉลี่ยเป็นไปตามมาตรฐานของสายพันธุ์ ส่วนสุขภาพสัตว์แม้อากาศภายนอกมีการเปลี่ยนแปลง ก็ไม่ทำให้เจ็บป่วยง่าย...
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เมื่อ มีการกระจายลมเข้า มีอากาศบริสุทธิ์ในปริมาณเหมาะสมตลอดความยาวของโรงเรือน สัตว์เลี้ยงภายในฟาร์มก็จะมีสุขภาพแข็ง แรง เป็นโรคได้ยาก ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ระบบดังกล่าวยังสามารถปรับปริมาณลม ในแต่ละส่วนได้ตามช่วงอายุสัตว์แต่ละฤดูกาล
อีกทั้งการใช้งานยังมีความเหมาะสมในเมืองร้อนชื้น ที่มีอุณหภูมิสูงสุดถึง 45 องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ซึ่งนอกจากการควบคุมสภาพอากาศในโรงเรือน จัดการของนายสัตวแพทย์ สัตวบาล ผู้เลี้ยงก็มีความสำคัญเช่นกัน และการออกแบบ นำไปใช้ ไม่ควรคาดเดาและทำเองโดยขาดการแนะนำเพราะจะส่งผลเสียหาย ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
เกษตรกร เจ้า ของฟาร์มรายใดสนใจโรงเรือนระบบหน้าต่างรถเมล์ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่ม เติมได้ที่ โทร.0-4336-2006, 08-9699-8261 เวลาราชการ.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 1 ธันวาคม 2551
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=113439