หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน
ประมงเตือน ย่างฤดูหนาว สัตว์น้ำภูมิต่ำ โรคระบาดง่าย
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 51
ประมงเตือน ย่างฤดูหนาว สัตว์น้ำภูมิต่ำ โรคระบาดง่าย
นางสมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่าในช่วงฤดูหนาว ทำให้สัตว์น้ำเกิดอาการเครียดและกินอาหารน้อยลง ความแข็งแรงและความทนทานต่อโรคลดต่ำลง อาจทำให้เกิดโรคระบาดปลาหรือโรคเน่าเปื่อย โรคชนิดนี้ทางการเรียกว่า โรคอียูเอส (Epizootic Ulcerative Syndrome; EUS) ซึ่งเป็นโรคที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังและควบคุมขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศหรือโอเออี
ทั้งนี้โดยปลาที่เป็นโรคนี้จะมีแผลเลือดออกตามซอกเกล็ด แผลเน่าเปื่อย แผลหลุมลึก กระจายตามส่วนหัวและผิวลำตัว ซึ่งมีเชื้อราชนิดหนึ่งกระจายอยู่ ทำให้เซลล์ตับ ม้ามและไต เกิดความผิดปกติ จนเสื่อมและตายได้ บางครั้งอาจพบร่วมกับเชื้อโรคอื่นๆ เช่น ปรสิต แบคทีเรียและไวรัส ซึ่งเพิ่มความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น ปลาที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดนี้ได้แก่ ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาแรด ปลาบู่ ปลากระสูบ ปลาบ้า และปลาสร้อย เป็นต้น
ส่วนการรักษา ปัจจุบันยังไม่มียาและสารเคมีที่ฆ่าเชื้อราที่ฝั่งในเยื่อปลาได้ แต่ถ้าน้ำอุณหภูมิสูงขึ้น เชื้อราจะเติบโตได้ช้าลง ปลาจะมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้นและหายป่วยได้เอง จึงแนะนำให้วางแผนการเลี้ยงปลาให้เหมาะสม มีบ่อพักน้ำพอเพียงต่อฤดูหนาว เลือกปลาชนิดอื่นที่มีเสี่ยงน้อยกว่า เช่น ปลานิล ปลาจีน และปลาไม่มีเกล็ด หากพบปลาเป็นโรคนี้ให้รีบปิดทางน้ำเข้าและหยุดการเติมน้ำจากธรรมชาติเข้าบ่อทันที หากไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ให้ควบคุมการให้อาหาร ใช้ปูนขาวควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อ และหากบ่อเริ่มเน่าเสีย มีก๊าซผุดขึ้นจากพื้นบ่อให้ใช้เกลือสาดประมาณ 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ กำจัดปลาที่ตายในบ่อด้วยการฝังหรือเผา เมื่ออุณหภูมิน้ำสูงขึ้นและปลาหายป่วยควรถ่ายน้ำตามความเหมาะสม หากพบปลามีอาการของโรคให้แจ้งหน่วยงานของกรมประมง
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 11 ธันวาคม 2551
http://www.naewna.com/news.asp?ID=137881
ข่าวที่เกี่ยวข้อง รวมอาชีพเกษตรกรรม ทำง่ายรายได้งาม ปี 2551
ม.บูรพาต่อยอดงานวิจัย "หิ้งสู่ห้าง" เพิ่มมูลค่า "ปลาสลิด" บ้านแพ้ว
กรมข้าวเตือนนครนายกเฝ้าระวัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดที่นา
ลดพิษของโลหะหนักในปลาด้วยวิตามินซี
เร่งปลูกถั่วเขียว พันธุ์ "ชัยนาท 80" นำร่องเหนือล่าง
ไทยเยี่ยมโคลนนิ่งกระทิงป่าได้สำเร็จ
"เจริญ คุ้มสุภา" ปลูกมะม่วงนอกฤดูขายญี่ปุ่น