เทคนิคการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลช้าง
เมื่อวันที่ 8 มกราคม 53
เทคนิคการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลช้าง
ในบรรดาเกษตรกรที่ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในเชิงพาณิชย์ในบ้านเรานั้น คุณวิชัย รัตนจินดาเกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร ถือได้ว่าประสบความสำเร็จหรืออาจจะกล่าวได้ว่ามีชื่อเสียงรายหนึ่งของประเทศไทย
ในบรรดากล้วยไม้สกุลช้างด้วยกันนั้นคุณวิชัยบอกว่า “
ช้างแดง” ปลูกเลี้ยงยากที่สุด เจริญเติบโตช้าและตายง่าย ปัจจุบันยังมีเกษตรกรและผู้สนใจนิยมเลี้ยงกล้วยไม้สกุลช้างกันมากขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง อาจจะด้วยความท้าทายในการปลูกเลี้ยงนั่นเอง เหตุผลหนึ่งที่กล้วยไม้ในสกุลช้างปลูกเลี้ยงยากเพราะมีลักษณะของการ “ห่างป่า” มีผลทำให้อ่อนแอต่อสภาพแวดล้อม แมลงและโรค
ที่สวนกล้วยไม้ที่นี่จะเน้นการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลช้าง ได้แก่ ช้างแดง, ช้างกระ, ช้างเผือก, ช้างส้ม, ช้างประหลาดและช้างการ์ตูน เป็นต้น หรือแม้แต่กล้วยไม้ในกลุ่มไอยเรศ เลี้ยงได้งามมากเพียงกอเดียวมีจำนวนช่อดอกถึง 52 ช่อและชนะเลิศการประกวด เป็นที่สังเกตว่าในการพัฒนา กล้วยไม้สกุลช้างของคุณวิชัยนั้นจะเน้นวิธีการเพาะเมล็ดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ใช้วิธีการปั่นตา เมื่อได้ต้นจากการเพาะเมล็ดจะเลี้ยงเป็นไม้รุ่นขายต่อไป เหตุผลที่ไม่นิยมวิธีการปั่นตา เนื่องจากที่ผ่านมากล้วยไม้สกุลช้าง ที่นำมาปั่นตาพบเปอร์เซ็นต์การตายสูง แต่ที่สำคัญในความคิดเห็นของคุณวิชัยถ้าหากทุกคนที่เลี้ยงกล้วยไม้สกุลช้างและนำมาขยายพันธุ์ด้วยการปั่นตา จะทำให้การพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้สกุลช้างจะหยุดอยู่กับที่ แต่การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดนั้นเจ้าของหรือนักผสมพันธุ์ผสมจนติดฝัก เฝ้ารอคอยเวลาได้ลุ้นและความหลากหลายของสายพันธุ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงกล้วยไม้ในสกุลช้างจะต้องทราบข้อมูลว่า ไม่ชอบสภาพอากาศร้อนและแสงแดดแรงจัด ดังนั้นสภาพโรงเรือนจะต้องมุงด้วยตาข่ายพรางแสงชนิด 70% คือให้แสงแดดผ่านได้เพียง 30% เท่านั้น และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ควรจะเพิ่มตาข่ายพรางแสงปูทับอีกชั้นหนึ่ง จะต้องสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เย็นเพื่อลดอุณหภูมิของความร้อนลง ปัจจุบันสวนกล้วยไม้แห่งนี้จะใช้น้ำจากแม่น้ำปิงที่ไหลมาจากเขื่อนภูมิพล เพื่อใช้รดกล้วยไม้ ในช่วงฤดูแล้งน้ำจากแม่น้ำปิงจะใสสะอาดมากสามารถนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้อง พักน้ำ แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนน้ำจะขุ่นมาก จะต้องนำน้ำมาพักก่อนใช้ด้วยการใช้สารส้มหรือคลอรีนมาช่วยปรับให้คุณภาพของน้ำดีขึ้นก่อนนำใช้รดให้กับต้นกล้วยไม้สกุลช้าง การให้น้ำกล้วยไม้จะเริ่มให้ในช่วงเช้ามืดประมาณตี 4
ในเรื่องของการให้ปุ๋ยในกล้วยไม้สกุลช้างให้บ้างแต่น้อยกว่ากล้วยไม้สกุลอื่น เนื่องจากถ้างามมากและมีใบที่อวบอ้วนเกินไปจะทำให้เกิดโรคได้ง่ายโดยเฉพาะโรคยอดเน่า.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 8 มกราคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=568&contentID=41461
ข่าวที่เกี่ยวข้อง นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง