ปลื้ม ส่งออกสินค้าเกษตร มูลค่าเกือบ 5 แสนล้านบาท
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 53
ปลื้ม ส่งออกสินค้าเกษตร มูลค่าเกือบ 5 แสนล้านบาท
ท่ามกลางปัญหาของบ้านเมืองที่ผ่านมา ถึงตอนนี้ก็ยังพอจะมีข่าวดีทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่บ้าง โดยเฉพาะตัวเลขการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ พบว่าการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางที่น่าพอใจ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้อนาคตการส่งออกของไทยสดใสขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ภาพรวมการส่งออกสินค้าที่สำคัญในช่วงเดือน มกราคม-เมษายน 2553 ซึ่งมีมูลค่าส่งออกสินค้ารวม 1,911,548 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 คิดเป็น 24.36% และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกทั้งหมดของเดือนเมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่าเพิ่มขึ้น 23.01% แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม พบว่า ลดลง 15.57% และจากการติดตามการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด พบว่า มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรรวม 473,040 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 คิดเป็น 31.66% โดยสินค้าสำคัญที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมากได้แก่ ข้าวมันสำปะหลัง น้ำตาลดิบ ยางพารา และ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ส่วนสินค้าที่มูลค่าส่งออกลดลงได้แก่ ข้าว หอมมะลิ สับปะรดกระป๋อง และเนื้อไก่
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อพิจารณาการส่งออกเป็นรายสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว พบว่า มีปริมาณส่งออกรวม 2,684,774 ตัน มูลค่า 54,406.00 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปริมาณการส่งออกลดลง 1.32% แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 2.73 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าส่งออกข้าวเดือนเมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่าลดลง 17.72 % และ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม ลดลง 30.04 % โดยตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย ได้แก่ ไนจีเรีย สหรัฐอเมริกา แอฟริกา ฟิลิปปินส์ และจีน มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ พบว่า มีปริมาณส่งออกรวม 3,433,478 ตัน มูลค่า 27,909 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 92.29% และ 125.02 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์เดือนเมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่าเพิ่มขึ้น 108.67% และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้น 0.64% ส่วนตลาดส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของไทยได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไต้หวัน ตามลำดับ
ด้านการ ส่งออกน้ำตาลดิบ พบว่า มีปริมาณส่งออกรวม 1,022,429 ตัน มูลค่า 13,910.60 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่ม ขึ้น 25.96 % และ 66.14 สำหรับมูลค่าส่งออกน้ำตาลดิบเดือนเมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่าลดลง 10.07% และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม ลดลง 34.77% ตลาดส่งออก น้ำตาลดิบที่สำคัญของไทยได้แก่ อินโด นีเซีย ญี่ปุ่น บังกลาเทศ มาเลเซีย และ เกาหลีใต้ ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกยางพารา มีปริมาณส่งออกรวม 915,535 ตัน มูลค่า 77,457.50 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่ม ขึ้น 2.44% และ 87.53 สำหรับมูลค่าส่งออกยางพาราเดือน เมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่าเพิ่มขึ้น 71.00% แต่ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม ลดลง 31.79% ตลาดส่งออกยางพาราที่สำคัญของไทยได้แก่ จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกไก่เนื้อปรุงแต่ง มีปริมาณส่งออกรวม 115,759 ตัน มูลค่า 14,329.60 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 9.30% แต่มูลค่าส่งออกลดลง 5.38 สำหรับมูลค่าส่งออกเนื้อไก่ปรุงแต่งเดือนเมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่าลดลง 11.70% และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม ลดลง 25.16% ตลาดส่งออกไก่เนื้อที่สำคัญของ ไทยได้แก่ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และสิงคโปร์ ตามลำดับ และสุดท้าย คือการ ส่งออกกุ้งแช่เย็น แช่แข็ง มีปริมาณส่งออกรวม 64,613 ตัน มูลค่า 13,386.20 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่ม ขึ้น 17.51% และ 25.33 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าส่งออกกุ้งแช่เย็น แช่แข็งเดือนเมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาพบว่าเพิ่มขึ้น 3.44% แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม พบว่า ลดลง 20.37% โดยตลาด ส่งออกกุ้งแช่เย็นแช่แข็งที่สำคัญของไทย ได้ แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา จีน และเกาหลีใต้.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 13 กรกฎาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=77519
ข่าวที่เกี่ยวข้อง นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง