รีไซเคิลลำไยอัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 53
รีไซเคิลลำไยอัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล
นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าโครงการรีไซเคิลลำไยค้างสต๊อกว่า ตามข้อตกลงในการทำลายลำไยค้างสต๊อก ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ต้องบดลำไยให้หมดทั้ง 60 โกดังภายในเวลา 150 วัน นับจากวันที่ได้รับการโอนงบประมาณเมื่อกลางเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อนำลำไยที่บดแล้วไปอัดเป็นแท่งเชื้อเพลิงชีวมวลและนำไปจำหน่ายและนำรายได้คืนรัฐตามสัญญา
โดยขณะนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สามารถบดลำไยแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยตามจำนวนที่ได้รับมอบจากองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยบดลำไยได้ทั้งสิ้น 46,309.04 ตัน คิดเป็น 99% จากลำไยทั้งหมด 46,828.17 ตัน ส่วนที่เหลือ 1% หรือประมาณ 519.13 ตัน เป็นลำไยที่ อ.ต.ก.ไม่สามารถส่งมอบได้ เนื่องจากมีการสูญเสียจากระบบการจัดเก็บที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดเชื้อรา กล่องเน่าเปื่อยฉีกขาดประมาณ 248 ตัน อีกประมาณ 270 ตัน เป็นลำไยที่พบปัญหาเรื่องปริมาณและคุณภาพ ซึ่ง อ.ต.ก.ต้องอายัดไว้เป็นของกลางเพื่อตรวจสอบต่อไป
สำหรับผลผลิตลำไยจาก 8 จังหวัดภาคเหนือในปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่าจะออกสู่ตลาดรวมประมาณ 396,959 ตัน แยกเป็นจังหวัดเชียงใหม่ 162,828 ตัน เชียงราย 51,264 ตัน พะเยา 17,346 ตัน น่าน 14,025 ตัน ลำปาง 1,754 ตัน ลำพูน 140,816 ตัน ตาก 5,697 ตัน และจังหวัดแพร่ 3,229 ตัน ซึ่งลดลงจากปี 2552 คิดเป็น 19.19% และแม้ว่าผลผลิตในภาพรวมจะลดลงแต่กลับพบว่าผลผลิตจะกระจุกตัวสูงมากในช่วงเดือนกรกฎาคม ประมาณ 163,293 ตัน และเดือนสิงหาคม 199,612 ตัน ซึ่งอาจเกิดปัญหาลำไยล้นตลาดและราคาตกต่ำได้ กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งเตรียมแผนบริหารจัดการลำไย ปี 2553 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
และได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร เสนอขออนุมัติงบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) จำนวน 557.59 ล้านบาท เป็นเงินจ่ายขาด 157.59 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียน 400 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการบริหารจัดการลำไย ปี 2553 ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เป้าหมาย 158,000 ตัน.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 สิงหาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=82873
ข่าวที่เกี่ยวข้อง นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง