ปากีสถาน ปลูกพืชพื้นที่ร้อนกว่า 40 องศาและหนาวกว่า 10 องศา
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 53
ปากีสถาน ปลูกพืชพื้นที่ร้อนกว่า 40 องศาและหนาวกว่า 10 องศา
เกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศปากีสถาน มีการเพาะปลูกผลไม้หลากหลายชนิดนับตั้งแต่ แอพริคอต แอปเปิ้ล เชอร์รี่ ถั่วรวมทั้งอัลมอนด์ วอลนัทและสนถั่ว สภาพแวดล้อมที่สูงและมีอากาศบริสุทธิ์ของเทือกเขาหิมาลัย มีระบบชลประทานโดยที่มีแหล่งน้ำมาจากธารน้ำแข็งบริสุทธิ์ได้สร้างมหัศจรรย์ด้านการเพาะปลูกอย่างน่าสนใจ
ผลไม้ในปากีสถานจำเป็นที่จะต้องนำมาแปรรูปเป็นผลไม้แห้งเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากระบบการขนส่งภายในประเทศค่อนข้างจะไม่สะดวก ผลไม้แห้งและถั่วมีการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์อบแห้งผลไม้สดและแปรรูปถั่ว
ขณะเดียวกันปากีสถานยังได้มีการสนับสนุนให้เกษตรกรของตนเองทำการเกษตรแบบอินทรีย์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำการผลิต และมีตลาดรองรับสำหรับผลผลิต มีการฝึกอบรมเกษตรกรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถทำการผลิตได้ทันตามความ ต้องการของตลาด ทั้งตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศ
อย่างแอพริคอต วอลนัทและอัลมอนด์เกษตรกรที่ทำการผลิตจะได้รับการประกันราคาขั้นต่ำ ทางการได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนการจัดระบบการจัดการสินค้าประกันคุณภาพ และการควบคุมการส่งออก
ที่สำคัญในการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกนั้นทางการปากีสถานได้มีการจัดระบบการชลประทานให้กับเกษตรกรค่อนข้างเป็นระบบอยู่ที่น่าสนใจไม่น้อย เนื่องจากน้ำส่วนใหญ่ที่นำมาใช้เพื่อการนี้เป็นน้ำที่เกิดจากการละลายมาจากหิมะและน้ำแข็งจากเทือกเขา ซึ่งแน่นอนว่าหากบริหารจัดการไม่ดียามเกิดการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโอกาสของการขาดแคลนน้ำก็จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคมิได้ชะลอความต้องการตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจากแนวทางดังกล่าวยังผลให้การเพาะปลูกเพื่อเลี้ยงผู้คนในประเทศสามารถดำรงอยู่และมีสนองความต้องการอย่างเพียงพอ และก็ยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศได้อีกด้วย ที่สำคัญยังมีการบริหารการเพาะปลูกที่อิงต่อสภาพภูมิอากาศ หากจะกล่าวแบบการเกษตรไทยก็เรียกว่า เป็นการบังคับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชนั่นเอง อย่างที่มารีเมือง ท่องเที่ยวสำคัญของปากีสถานที่มีผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมถึงคนไทยจำนวนไม่น้อยใฝ่ฝันที่จะได้สัมผัสกับพื้นที่และบรรยากาศ พบว่าอาหารที่สำคัญและมีจำหน่ายอย่างต่อเนื่องทุกฤดูกาล ก็คือ ถั่วชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงผลไม้นานาชนิดที่แห่งนี้ไม่เคยขาด
มารีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนให้ความสนใจทั้งกลางวันและกลางคืน ฉะนั้นอาหารและผลไม้จึงสามารถจำหน่ายได้ทั้งกลางวันและกลางคืนเช่นกัน จึงนับเป็นแหล่งหนึ่งของประเทศปากีสถานที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นแหล่งเผยแพร่ ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของตนออกสู่การลิ้มลองของผู้คนจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อนักท่องเที่ยวติดใจแล้วโอกาสของการแสวงหาผลไม้เหล่านั้น ก็ย่อมที่จะเกิดขึ้นตามมา และเมื่อเกิดขึ้นก็แน่นอนว่า ปากีสถานสามารถส่งผลไม้ชนิดนั้น ๆ ไปยังต่างประเทศในอนาคตเพิ่มขึ้นนั่นเอง.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 สิงหาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=340&contentID=82874
ข่าวที่เกี่ยวข้อง นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง