หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน
"ซีพี"หนุนยางเฟสใหม่ 8 แสนไร่ ชี้อนาคตยางดิบขาดตลาดหนัก แนะวางมาตรฐานต้นกล้ารัดกุม
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 53
"ซีพี"หนุนยางเฟสใหม่ 8 แสนไร่ ชี้อนาคตยางดิบขาดตลาดหนัก แนะวางมาตรฐานต้นกล้ารัดกุม
นายขุนศรี ทองย้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธุรกิจยางพารา กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เผยว่า ผลจากการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศจีนและอินเดีย ตลอดจนความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ทำให้ความต้องการใช้ยางธรรมชาติทดแทนยางสังเคราะห์เพิ่มสูงตามไปด้วย โดยองค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ หรือ IRSG (International Rubber Study Group) วิเคราะห์ว่า ตั้งแต่ปี 2553 จะเริ่มเกิดปัญหาการขาดแคลนยางธรรมชาติเนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยปี 2553 ทั่วโลกจะมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติ 10.50 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณการผลิตจะอยู่ที่ 10.42 ล้านตัน และขยายขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปี 2563 ความต้องการใช้ยางธรรมชาติจะเพิ่มเป็น 14.35 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณการผลิตจะอยู่ที่ 12.40 ล้านตัน ทั้งนี้สถานการณ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องดี และเป็นโอกาสของประเทศไทยที่รัฐบาลอนุมัติให้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 8 แสนไร่ เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยมีรายได้ที่มั่นคง
"โครงการยาง 8 แสนไร่ ถือเป็นโครงการที่ดีและเกิดประโยชน์โดยตรงกับเกษตรกรรายย่อย ขณะเดียวกันก็เป็นการเตรียมพร้อมของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นฮับยางพาราด้วย ดังนั้นเพื่อให้โครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ หน่วยงานที่รับผิดชอบควรกำหนดมาตรการตรวจสอบขั้นตอนต่าง ๆ อย่างรัดกุม โดยเฉพาะในส่วนของการผลิตกล้าพันธุ์ยางพารา ควรมีการกำหนดมาตรฐานการผลิต และขั้นตอนการส่งมอบต้นยางชำถุงที่ได้มาตรฐานเดียวกัน เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาต้นยางที่เกษตรกรนำไปปลูกตาย หรือปัญหาการให้น้ำยางต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อถึงอายุเปิดกรีด ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายกับเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังทำให้ประเทศเสียโอกาสจากการลงทุนอีกด้วย ในส่วนของบริษัทฯพร้อมให้การสนับสนุนนโยบายการขยายพื้นที่ปลูกยางของภาครัฐอยู่แล้ว ส่วนแนวทางหรือรูปแบบในการเข้าร่วมนั้นโครงการ ขึ้นกับนโยบายและความชัดเจนในการบริหารจัดการโครงการของทางการในหลายๆ เรื่องว่าจะสอดคล้องแนวทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัทมากน้อยเพียงใด" นายขุนศรี กล่าว
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 24 สิงหาคม 2553
http://www.naewna.com/news.asp?ID=224814
ข่าวที่เกี่ยวข้อง นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง