สวก.เจ๋งประสบผลสำเร็จวิจัยเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารี ในสภาพปลอดเชื้อ
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 53
สวก.เจ๋งประสบผลสำเร็จวิจัยเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารี ในสภาพปลอดเชื้อ
ประเทศไทยมีพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้เข้าประเทศปีละหลายพันล้านบาท โดยเฉพาะ “กล้วยไม้” ถือว่าเป็นพืช ที่รัฐบาลสมควรพัฒนาสายพันธุ์ และขยายพันธุ์ เพื่อสร้างรายได้และอนุรักษ์ไว้ ให้อยู่คู่ประเทศไทย เพราะปัจจุบันถือว่าใกล้สูญพันธุ์ ถ้าไม่มีการอนุรักษ์และขยายพันธุ์อย่างจริงจัง โดยเฉพาะ “กล้วยไม้รองเท้านารี” ที่นับวันใกล้จะสูญพันธุ์
ดังนั้น สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) โดยการนำของ ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ ผอ.สวก.และทีมงาน เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จับมือร่วมกับ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ที่ปรึกษา สวก.อดีตปลัดกระทรวงเกษตรฯ และ ดร.เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ ผอ. กลุ่มส่งเสริมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ จัดตั้ง
โครงการวิจัยการเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีในสภาพปลอดเชื้อ ร่วมวิจัยกับ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง
จนวันนี้ โครงการดังกล่าว สามารถเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารี ในสภาพปลอดเชื้อ ได้เป็นผลสำเร็จแห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มเพาะเลี้ยง ตั้งแต่ปี 49-52 สำหรับกล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศพบกล้วยไม้รองเท้านารี ขึ้นอยู่ในป่าทั่ว ๆ ไป แต่ปัจจุบันพบว่ากล้วยไม้รองเท้านารี จัดเป็นพืชที่อาจสูญพันธ์ และประเทศไทยมีสายพันธุ์ ถึง 17 สายพันธุ์ โดยแบ่งกว้าง ๆ ได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่มีกลีบดอกแผ่กว้าง กลุ่มที่มีกลีบดอกแคบเรียวยาว
สำหรับกล้วยไม้รองเท้านารี ในภาคใต้ที่พบมี 8 ชนิด คือ กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ มีราคาแพงที่สุด ในการจำหน่ายและมีการประกวดมากที่สุด รวมทั้งหายากที่สุดในขณะนี้ กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองตรัง กล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล กล้วยไม้รองเท้านารีขาวชุมพร กล้วยไม้รองเท้านารีช่องอ่างทอง กล้วยไม้รองเท้านารีขาวพังงา กล้วยไม้รองเท้านารีคางกบใต้ และ กล้วยไม้รองเท้านารีม่วงสงขลา
ขณะที่การเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารี ในสภาพปลอดเชื้อนั้น จะมีปัญหาการเลี้ยงเนื้อเยื่อยากมาก ซึ่งจะมีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเม็ด และแยกหน่อ และที่สำคัญการขยายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี ทำได้เฉพาะเมล็ดเท่านั้น ซึ่งยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากใช้เวลาในการงอกนาน ได้ปริมาณต้นไม่มากนัก และผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอน ซึ่งจะอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิ ความสมบูรณ์ของเมล็ด ความไม่เหมาะสมของอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง และ การขยายพันธุ์ด้วยวิธีแยกหน่อจะได้จำนวนต้นน้อยกว่าการเพาะเมล็ดมาก
ในขณะการวิจัยด้วยสภาพปลอดเชื้อให้มีประสิทธิภาพ โดยสามารถย่นระยะเวลาเพาะเมล็ดจนเป็นต้นที่สมบูรณ์พร้อมออกจากขวด จากทั่วไป 18 เดือน เหลือเพียง 9-12 เดือนได้ และมีผลสำเร็จในการพัฒนาสูตรอาหาร พร้อมกับมีการยื่นขอสิทธิบัตรสูตรอาหารสังเคราะห์ สำหรับกล้วยไม้และการเพิ่มจำนวนโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงได้ถึง 15,000 ต้น ต่อปี โดยเฉพาะเมืองไทย เป็นแหล่งส่งออกกล้วยไม้ เป็นอันดับ 1 ของโลก ในเขตเมืองร้อน ซึ่งสร้างรายได้ปีละ 3,000 ล้านบาท
ดร.นภาวรรณ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัย วิธีการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารี ในสภาพปลอดเชื้อ ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานวิจัย และสถานที่ผลิต รับบริการขยายพันธุ์ และ จัดจำหน่าย กล้วยไม้รองเท้านารีในภาคใต้ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และต้องการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี ที่มีอยู่ในสภาพธรรมชาติไม่ให้สูญพันธุ์
ดังนั้นโครงการดังกล่าว ถือว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้ และสร้างรายได้ต่อประเทศไทย สมควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 25 สิงหาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=87304
ข่าวที่เกี่ยวข้อง นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง