เมื่อวันที่ 24 กันยายน 53
ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยถึงผล การดำเนินงานของกรมประมงเนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนาปีที่ 84 ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กันยายน นี้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมประมงได้พัฒนาการดำเนินงานเพื่อสนองต่อความต้องการของสังคมมาอย่างต่อ เนื่อง โดยได้พัฒนาองค์ความรู้วิชาการต่าง ๆ ในทุกสาขาของงานด้านการประมงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและถ่ายทอดสู่พี่น้อง ชาวประมง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมไปถึงผู้ประกอบการ จนสามารถพัฒนาภาคการประมงของไทยให้ก้าวสู่หนึ่งในประเทศผู้นำของโลก
ในรอบปีที่ผ่านมา กรมประมงได้ปฏิบัติภารกิจจนประสบผลสำเร็จและสามารถสร้างสรรค์ผลงานเพื่อ พัฒนาภาคการประมงอย่างเป็นรูปธรรมหลายรายการ อาทิ การผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ประมงที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีความเข้มงวด ตลอดจนสามารถพัฒนากระบวนการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสินค้าได้ เช่น การตรวจสอบสินค้ากุ้ง การวิจัยการเพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ได้ตรงกับความต้องการของตลาด ด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดสายการผลิตเช่น กุ้งทะเล กุ้งก้ามกราม ปลากะพง ปลาเก๋า ปลาบึก ปลาช่อน ปลาสวาย ปลานิลจิตรลดา 3 และสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ ปลาโมง ปลาช่อนทะเล ปลากะรังจุดฟ้า เป็นต้น
การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ได้มีการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์และ สัตว์น้ำพื้นเมือง คืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติมากมายหลายชนิด เช่น ปลากะโห้ ปลาเทพา ปลาเทโพ ปลายี่สก หอยมือเสือ กบชนิดต่าง ๆ มีการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยผลิตพันธุ์สัตว์น้ำปล่อยใน แหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อคงความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำทะเล ปีละกว่า 2,000 ล้านตัว รวมทั้งจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล หรือ ปะการังเทียม ให้ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเล จำนวน 15 แห่ง ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและภาคเอกชนเจรจาหาแหล่งทำการประมงนอกน่าน น้ำ เพื่อนำวัตถุดิบป้อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปของไทยให้เพียงพอต่อกำลังผลิต พร้อมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร โดยส่งเสริมและฝึกอบรมด้านการเพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์น้ำตามศักยภาพของ เกษตรกรและความเหมาะสมของพื้นที่ ตลอดถึงการพัฒนาที่ก่อให้เกิดคุณค่าและประโยชน์อย่างสูงต่อประชาชนและชาว ประมง เช่น โครงการ จัดสร้างเรือใบเพื่อการประมง เพื่อลดต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ชาวประมงขนาดเล็ก และโครงการผลิตทูน่ากระป๋องพระราชทาน เพื่อเป็นอาหารให้แก่เด็กนักเรียนที่ยากจนในถิ่นทุรกันดาร
นอกจากนี้ยังได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาภาคการประมงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ พ.ร.บ.การประมงฉบับใหม่ ซึ่งได้มีการยกร่างมาเป็นระยะเวลานานเพื่อใช้แทน พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 โดยได้ปรับปรุงให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาและนำเสนอคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล ปัจจุบันให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 และได้บรรจุเข้าสู่วาระประชุมของสภาผู้แทนราษฎรในวาระด่วนที่ 14 แล้ว ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาการประมงทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แม้ภารกิจหลายประการจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่อย่างไรก็ตาม กรมประมงยังคงเดินหน้ามุ่งมั่นที่จะพัฒนาการประมงของไทยให้เจริญก้าวไกลยิ่ง ขึ้น เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง ชาวประมง และประชาชนทั่วไป ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งสู่การเป็นผู้นำทางการประมงอย่างยั่งยืนในภูมิภาค เพื่อความอยู่ ดีมีสุขของประชาชน”โดยยึดกรอบยุทธศาสตร์กรมประมง พ.ศ.2552-2555 ซึ่ง ได้กำหนด 5 ยุทธศาสตร์หลักเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพสินค้าประมงให้มีความเป็นเลิศและได้มาตรฐานตาม เกณฑ์สากล ยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้แหล่งเพาะเลี้ยงและทุกแหล่งทรัพยากร และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วน เสีย ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืนและคงความหลากหลาย ทางชีวภาพ ยุทธศาสตร์พัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีด้านการประมงทุกสาขา ยุทธศาสตร์การปรับปรุงระบบบริหารจัดการองค์กรให้เป็นผู้นำทางการประมงใน ภูมิภาค ทั้งนี้ กรมประมงมุ่งหวังว่ายุทธศาสตร์หลัก ทั้งหมดนี้ที่กรมประมงได้วางแผนไว้ จะมีส่วนช่วยผลักดันให้กรมประมงก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านประมงของภูมิภาคต่อ ไป”อธิบดีกรมประมงกล่าว.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 24 กันยายน 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=340&contentID=93733