เมื่อวันที่ 30 กันยายน 53
นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า กระทรวงเกษตรฯได้ดำเนินการปรับระบบการปลูกข้าวใหม่ และกำหนดช่วงระยะเวลาการปลูกให้มีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เศรษฐกิจ และสังคม โดยให้ปลูกได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง งดเว้นการปลูกแบบต่อเนื่องทั้งปี เน้นให้มีการใช้น้ำไม่เกินปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าว และบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการจัดระบบการปลูกข้าวใหม่นี้มีแผนดำเนินการ 3 ปี (2554-2556) โดยระยะแรกมีเป้าหมายดำเนินการใน 22 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุทัยธานี ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก ฉะเชิง เทรา ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ซึ่งอยู่ในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง รวม 9,532,672 ไร่ ซึ่งมีการปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 รวม 2.23 ล้านไร่และในระยะยาวได้มีแผนดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ
สำหรับรูปแบบระบบการปลูกข้าวใหม่มี 4 ระบบ คือ
1.ข้าวนาปี-ข้าวนาปรัง-พืชหลังนา
2.ข้าวนาปี-ข้าวนาปรัง-เว้นปลูก
3.ข้าวนาปี-พืชหลังนา-ข้าวนาปรัง และ
4.ข้าวนาปี-เว้นปลูก-ข้าว นาปรัง
ซึ่งแต่ละจังหวัดสามารถที่จะพิจารณาปรับเปลี่ยนระบบการปลูกข้าวและเลือกช่วง เวลาได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม โดยมีเงื่อนไขว่า เกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเดียวกันต้องเลือกระบบการปลูก ข้าวเหมือนกันและต้องปลูกข้าวพร้อมกัน
ประโยชน์ของการจัดทำระบบปลูกข้าวใหม่นี้ จะเป็นแนวทางช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรจากการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง และเหมาะสม เช่น การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสม การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูข้าวอย่างถูกต้องรวมทั้งน้ำมันเชื้อ เพลิงในการสูบน้ำ ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนลงจากตันละ 6,760 บาท เหลือเพียงตันละ 5,723 บาท และยังช่วยให้ผู้ปลูกข้าวได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 30 กันยายน 2553
http://www.naewna.com/news.asp?ID=230107