เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 53
"โครงการหลวง” เป็นโครงการส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งปัจจุบันนี้เป็น “มูลนิธิโครงการหลวง” ได้เริ่มทดลองปลูกไม้ผลบนที่สูงเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508
การพัฒนาการปลูกไม้ผลจะทำให้ชาวเขามีรายได้แทนการปลูกฝิ่นและชาวเขาจะหยุด ตัดไม้ทำลายป่าและยังช่วยรักษาต้นน้ำลำธารให้มีความสมบูรณ์ ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดย ศ.ปวิณ ปุณศรีและคณะได้ทำการสำรวจข้อมูลและหาแหล่งปลูกไม้ผลเขตหนาวต่าง ๆ ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมาปลูกรวบรวมพันธุ์ที่สถานีวิจัยดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2508-2513
นายเซน ซางฮวน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ได้มอบหมายให้ นายซุง ซิงหงุน เดินทางมาประเทศไทยในปี พ.ศ. 2513 เพื่อสำรวจพื้นที่ภาคเหนือของไทยที่มีศักยภาพในการปลูกไม้ผลเขตหนาว ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ทางคณะกรรมการส่งเสริมอาชีพทหารผ่าน ศึกจีนได้จัดส่งกิ่งไม้ผลเมืองหนาวหลายชนิดมาทดลองปลูก ในขณะเดียวกันทาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ส่งอาจารย์หลายท่านไปดูงานยังต่างประเทศทำให้ทราบ ถึงลักษณะนิสัยของไม้ผลเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ และไม้ผลเมืองหนาว 3 ชนิดแรกที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกคือ บ๊วย, พลับและพีช เป็นต้น
ปัจจุบันโครงการหลวงยังมีเป้าหมายในการส่งเสริมไม้ผลเพื่อสร้างอาชีพแก่ เกษตรกรและเพื่อให้เป็นไม้ยืนต้นทดแทนป่าที่ถูกทำลายและมีศูนย์พัฒนาโครงการ หลวงอยู่ 38 ศูนย์ และพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 800 เมตร ได้มีการส่งเสริมการปลูกไม้ผลเขตเมืองหนาวเพิ่มอีก 3 ชนิดคือ พลัม, สาลี่และกีวีฟรุต รวมเป็นไม้ผล 6 ชนิด จำแนกเป็น 31 สายพันธุ์ ซึ่งมีพื้นที่ส่งเสริมจำนวน 11,411 ไร่
ในปัจจุบันมีเกษตรกรได้รับการพัฒนาและส่งเสริมจำนวน 2,296 ราย แผนการปฏิบัติการศูนย์พัฒนาโครงการหลวงระยะ 4 ปี พ.ศ. 2551-2554 ของงานส่งเสริมและพัฒนาไม้ผลเขตหนาวจะเน้นการปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตให้ได้ ตามมาตรฐานที่มูลนิธิโครงการหลวงกำหนดและเน้นความสด, สะอาดและปลอดภัย นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการ แปรรูปผลิตไม้ผลเมืองหนาวเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เช่น บ๊วยดองเค็ม, พีชลอยแก้ว, พีชแช่อิ่มและพลับหมาด เป็นต้น
นอกจากนั้นทางโครงการหลวงยังมีศูนย์อีก 14 ศูนย์ที่มีพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 800 เมตร ซึ่งมีสภาพอากาศไม่หนาวเย็นนัก ทางมูลนิธิโครงการหลวงได้มีการส่งเสริมการปลูกไม้ผลเขตร้อน อาทิ อะโวคาโด, มะม่วง, มะละกอ, ส้มและเลมอน เป็นต้น
ปัจจุบันมีชาวเขาและเกษตรกรในเขตพื้นที่สูงมีรายได้จากการขายผลผลิตไม้ผล เมืองหนาวและเลิกปลูกฝิ่นโดยสิ้นเชิง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของ ชาวไทยภูเขาทั้งมวล ตลอดจนถึงปวงชนชาวไทยและชาวโลกที่พืชภัยร้ายได้ห่างหายไปจากพื้นแผ่นดินไทย.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 17 ธันวาคม 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=568&contentID=110229