หน้าแรก > ข่าวเกษตรประจำวัน
สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 53
สร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางเครือข่ายสมาชิกสหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ จากจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดยโสธร ได้รวมตัวกันเป็นคลัสเตอร์กลุ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และได้ลงนามข้อตกลงกับกรมส่งเสริมสหกรณ์และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำโครงการพัฒนาคลัสเตอร์กลุ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ 5 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2552
โดยได้มีการจัดกิจกรรมการอบรม สัมมนา ประชุมพบปะ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ กับคลัสเตอร์ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร จำนวน 20 สหกรณ์ ปัจจุบันสถานะของการเป็นคลัสเตอร์ได้รับการพัฒนาและยกระดับให้มีมาตรฐานและเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น จากพลังความร่วมมือและการได้ระดมความคิดเห็นของคลัสเตอร์ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร ทั้ง 20 สหกรณ์ ทำให้เกิดแนวคิดพัฒนาที่จะจัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานคลัสเตอร์ กลุ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ขึ้น ณ สหกรณ์การเกษตรสุวรรณภูมิ จำกัด อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงานของสมาชิกในคลัสเตอร์กลุ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และผู้ประสานงานคลัสเตอร์เป็นศูนย์กลางระบบสารสนเทศ ข้อมูลการตลาด การผลิต และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างองค์กรภายใน ภายนอกคลัสเตอร์ รวมถึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำธุรกิจ แหล่งข้อมูลการค้า การเจรจาต่อรองทางธุรกิจกับภาคเอกชนด้วย
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า นโยบายในอนาคตจะดำเนินการผลักดันการนำเสนอแผนยุทธศาสตร์คลัสเตอร์ข้าวหอม มะลิทุ่งกุลาร้องไห้ไปสู่การปฏิบัติจริง โดยมีส่วนร่วมจากสมาชิกและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์การเกษตรที่เป็นสมาชิกรวมถึง ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน การพัฒนาคลัสเตอร์เป็นแนวทางที่เพิ่มคุณค่าและประโยชน์ต่อการดำรงชีพของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร กลุ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้เป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของคลัสเตอร์ และผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิให้มีความยั่งยืนและเข้มแข็ง มีขีดความสามารถต่อรองด้านธุรกิจการค้าและการตลาดได้
“ศูนย์ประสานงานคลัสเตอร์นี้ จึงเปรียบเสมือนเป็นฐานที่มั่นของคลัสเตอร์กลุ่มข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ที่จะขับเคลื่อนให้การดำเนินงานกิจการของศูนย์ฯ มีความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งการพัฒนาคลัสเตอร์ และผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพของผลผลิต เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และเป็นสินค้าพิเศษที่ดีเยี่ยม ยังส่งผลสู่การเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และการส่งออกสู่ตลาดการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับต่างประเทศในที่สุด” นายฉกรรจ์ กล่าว.
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=344&contentID=46500
ข่าวที่เกี่ยวข้อง นำเลี้ยงปูนิ่ม-พัฒนาท่องเที่ยว วิถีสร้างอาชีพของ วชช.เพื่อชุมชน
'ไม้ผลแปลกและหายาก' ที่น่าปลูกในปี พ.ศ.2554
คาดลำไยปีหน้าราคาพุ่ง "ธีระ" ฟุ้งแผนบริหารจัดการดี มุ่งเน้นเดินตามกลไกตลาด
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ลดต้นทุนการผลิตได้
วช.หนุนวิจัยปลานิล "จิตรลดา3" คุณภาพเหมาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
บริหารนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป สกัดผลกระทบเปิดเสรีอาฟตา กษ.จับตาล้นตลาด-ราคาร่วง
วิจัย "ดีเอ็นเอ" แตงกวา มก.พัฒนา ต้านราน้ำค้าง