เกษตรฯ เปิดศูนย์ท่องเที่ยวช่วงปิดเทอม อุดหนุนงบประมาณช่วยเต็มพิกัด
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 52
เกษตรฯ เปิดศูนย์ท่องเที่ยวช่วงปิดเทอม อุดหนุนงบประมาณช่วยเต็มพิกัด
โครงการหลวง เป็นโครงการเฉพาะเพื่อการพัฒนา และบำรุงรักษาต้นน้ำลำธาร ในบริเวณป่าเขาในภาคเหนือ เพื่อบรรเทาอุทกภัยในที่ลุ่มอันเกิดจากน้ำป่าหลาก เนื่องจากบริเวณป่าเขาทางภาคเหนือเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ ซึ่งมักโค่นป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยปลูกข้าว พืชไร่ และปลูกฝิ่น ทรงใช้โอกาสนี้พัฒนาชีวิตของชาวไทยภูเขาด้วยการทรงแนะนำให้ปลูกพืชเมืองหนาว เช่น แอปเปิ้ล ข้าวและดอกไม้เมืองหนาว แม้ว่าจะต้องเสด็จพระราชดำเนินไปในถิ่นที่ทุรกันดาร เพื่อทรงเยี่ยมเยียนและพระราชทานแนวทางดำเนินการแก่ชาวไทยภูเขาหลายครั้ง ก็มิได้ทรงท้อถอย การพัฒนาจึงค่อย ๆ มีผลดีขึ้นตามลำดับ พระราชดำริในการปลูกพืชอื่นทดแทนการปลูกฝิ่นได้รับการยกย่องจากนานาประเทศว่า เป็นวิธีปราบปรามการผลิตยาเสพติดได้อย่างดีประการหนึ่ง
และจากความสำเร็จในการส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรชาวไทยภูเขาหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจทั้งประเภทพืชผักและพืชยืนต้นประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จวบจนปัจจุบันการพัฒนาขีดความสามารถของราษฎรชาวไทยภูเขาจึงต้องเพิ่มขึ้น โดยมีการขยายความสามารถด้านการปลูกเพื่อสนองความต้องการของตลาด ไปจนถึงการทำการตลาดด้วยตนเองในรูปแบบของการรวมกลุ่ม ซึ่งล่าสุดในเรื่องนี้ นายเลอพงษ์ มุสิกะมาน รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้เข้าไปเสริมสร้างสหกรณ์ ในพื้นที่โครงการหลวง โดยการเข้าไปพัฒนาสหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์มีความเข้มแข็ง
เนื่องจากว่าการดำเนินงานสหกรณ์ในประเทศไทย ซึ่งเริ่มในปี 2459 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร โดยเฉพาะสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง ซึ่งส่วนใหญ่สมาชิกเป็นชาวเขา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างยิ่ง ทรงย้ำอยู่เสมอให้ใช้หลักการของสหกรณ์มาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยระบบสหกรณ์จะช่วยพัฒนาอาชีพและช่วยเกษตรกรได้มีการรวมตัวช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะเกิดอำนาจในการเจรจาต่อรองให้การขายพืชผลได้ราคาสูงขึ้น ดีกว่าต่างคนต่างขายและยังช่วยให้ได้เงินทุนมาให้สมาชิกกู้ยืม เนื่องจากแหล่งเงินกู้ให้ความเชื่อถือสหกรณ์มากกว่าเกษตรกรรายบุคคลอีกด้วย
รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การส่งเสริมการพัฒนาสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวง ได้ทำมากว่า 20 ปีแล้ว แต่ยังไม่ค่อยเข้มแข็งเนื่องจากมีปัญหา ทั้งเรื่องของพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล มีความทุรกันดารการสื่อสารค่อนข้างลำบาก โดยสหกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่โครงการหลวงทางภาคเหนือ มีจำนวน 39 ศูนย์ 33 สหกรณ์ สำหรับการพัฒนาสหกรณ์ในโครงการหลวง จะเริ่มด้วยการส่งเสริมการจ้างคนในพื้นที่ให้เข้าไปทำงาน เสริมสร้างให้มีการเลือกกรรมการบริหารกันเองโดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้ให้คำแนะนำ
การจ้างพนักงานที่เป็นราษฎรในพื้นที่จะประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร ผู้จัดการ หรือบัญชีเข้ามาดูแลงาน โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์จะเข้าไปช่วยเหลืองบประมาณอุดหนุนแก่สหกรณ์ ในการจ้างพนักงานเหล่านี้ ซึ่งในปีแรกจ่ายให้ 100 เปอร์เซ็นต์ ปีที่ 2 ลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ปีที่ 3 และ 4 ก็ลดลงอีกปีละ 20 เปอร์เซ็นต์ ปีที่ 5 ให้สหกรณ์หารายได้มาจ่ายพนักงานกันเอง ซึ่งจะทำให้สามารถพึ่ง ตนเองได้
การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นผลทำให้สหกรณ์สามารถพึ่งตนเองได้ เมื่อถึงตอนนั้น รัฐบาลก็ไม่ต้องเข้าไปช่วยอะไรอีก เพียงแค่คอย ดูแลและให้คำปรึกษาเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐบาลและจะเป็นการส่งเสริมสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็งขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=191269&NewsType=1&Template=1
ข่าวที่เกี่ยวข้อง ทางเลือก-ทางรอดเกษตรกรรมไทยในปี 2553
มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
เตือนภัย เพลี้ยแป้งระบาดในมันสำปะหลัง
อียูลดค่าสีผสมอาหาร 3 ชนิด
สศก.เปิดเผยศึกษาลำไยนอกฤดู ยันเกษตรกรได้รับผลคุ้มค่า แนะตั้งกลุ่มส่งเสริมจริงจัง
โอกาสของเกษตรกรรายย่อยในการรับรองฟาร์มแบบกลุ่ม
มะนาวพันธุ์ 'แป้นดกพิเศษ' ดกกว่าพันธุ์แป้นรำไพ 2-3 เท่า