เมื่อวันที่ 6 มกราคม 52
ขบวนการผลิตอันเป็นจุด “ต้นน้ำ” ถือว่ามีส่วนช่วยยกระดับให้อาหารได้มาตรฐานคุณภาพ ถูกสุขอนามัย
กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย ต่างให้ความสำคัญในการ วิจัยพัฒนาสายพันธุ์สัตว์ อาทิ ปลา ไก่ กุ้ง และ หมู อย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งก็เพื่อ เป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยง อีกทั้งให้ การซื้อขายผลิตภัณฑ์ได้ราคาดี สามารถ ขยายลู่ทางการส่งออก ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศให้กว้างมากขึ้น
ดร.สัจจา ระหว่างสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการปรับปรุงพันธุ์สุกร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ. บอกกับ “หลายชีวิต” ว่า จากกระแสตื่นตัวในเรื่อง “อาหารปลอดภัย” (Food Safety) ของผู้บริโภคในปัจจุบันที่มีมากขึ้น อีกทั้งเป็นการยกระดับสาย พานผลิตให้ก้าวเข้าสู่ “ครัวของโลก” (Kitchen of the World)
ดังนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมากว่า 30 ปี ซีพีเอฟ.ได้มุ่งคัดเลือก สุกรสายพันธุ์ดี เพื่อนำมาพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด กระทั่งได้ “พ่อแม่พันธุ์แท้ซีพีเอฟ.” ที่มีลักษณะ พันธุกรรมดี ให้ลูกดก เลี้ยงง่าย โตเร็ว แข็งแรง ตรงกับความต้องการกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรขุน
นอก จากนี้ ยังให้ความสำคัญด้านการควบคุม ป้องกันโรค ซึ่งเราจะมีระบบติดตามสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อเฝ้าระวัง โดยเฉพาะ PRRS (โรคทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ) ซึ่งหากเกิดการระบาดขึ้น จะสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรม จำต้องใช้ยารักษาจำนวนมาก อีกทั้งยังส่งผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าสุกรที่ปลอดโรค
ฉะนี้ จึงมุ่งผลิตสุกรปลอดโรค PRRS ตั้งแต่ ฟาร์มระดับทวดพันธุ์ ไปจนถึงฟาร์มสุกรขุน และเมื่อเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะส่งผลให้พันธุกรรมพัฒนาได้อย่างเต็มที่
และหนึ่งในจำนวนนี้ก็คือ หมูดำซีพี คูโรบูตะ (Kurobuta) เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ได้พัฒนาปรับปรุง พันธุ์ จนกระทั่งเป็นผู้นำในประเทศที่สามารถผลิตเนื้อชนิดนี้เป็นผลสำเร็จ
คูโรบูตะ มีลักษณะ ขนสีดำ เป็นส่วนใหญ่ แซมสีขาวบางช่วง เมื่อโตเต็มที่ จุดเด่นอยู่ที่ ไขมันจะแทรกในชั้นกล้ามเนื้อแดง โดย ผู้เลี้ยงไม่จำเป็นต้องใช้ยาหรือสารเร่งใดๆ นับว่าตรงกับตามความต้อง การของผู้บริโภคในปัจจุบัน
สำหรับเนื้อน้องหมู “สายพันธุ์ไทย สไตล์พี่ยุ่น” นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย แต่ นิยมมากที่สุด คือชาบู ชาบู (shabu shabu) เนื้อกระทะญี่ปุ่น (teppanyaki) และ สเต็ก (steak) ซึ่งหลายคนที่ได้ “เปิบ” ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เนื้อนุ่ม รสชาติมีความชุ่มฉ่ำกว่าสุกรทั่วไป
ด้วยคุณภาพของเนื้อที่ไม่เหมือนใคร จึงทำให้ บรรดาครัวไฮโซ ภัตตาคาร ร้านค้า ทั้งในและต่างประเทศ ต้องการ “หมูดำ” เพื่อสำหรับมาใช้เป็นวัตถุดิบปรุงอาหาร แต่ทว่าปัจจุบันในบ้านเรายังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการ
ฉะนั้น เกษตรกรรายใดที่สนใจคิดจะเลี้ยง หรือเปิบเจ้า “คูโรบูตะ” หมูสัญชาติไทยสายพันธุ์ใหม่ สามารถกริ๊งกร๊างถามไถ่รายละเอียดกันได้ที่ โทร. 0-2625-7344-5, 0-2631-0641, 0-2638-2713 ในวันและเวลาราชการ.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 6 มกราคม 2552
http://www.thairath.co.th/news.php?section=agriculture&content=117878